Science Technology Innovation Weekly No.17/2565

1. จีนปล่อยจรวดส่งดาวเทียม 5 ดวงจากเรือกลางทะเล

2 พ.ค. 65 – เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 65 จีนปล่อยจรวดลองมาร์ช 11 ขนส่งดาวเทียมเชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก 5 ดวงจากเรือที่ลอยลำในทะเลขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ ดาวเทียม 2 ดวง ใน 5 ดวง คือ ดาวเทียมสำรวจโลก ‘เกาเฟิน-03D04~07’ และ’เกาเฟิน-04A ‘ ที่พัฒนาจากบริษัท Chang Guang Satellite Technology Co., Ltd. (CGSTL) โดยจรวดลองมาร์ช 11 พัฒนาจากสถาบันเทคโนโลยีจรวดขนส่งแห่งชาติจีน (China Academy of Launch Vehicle Technology – CALT) ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมจากศูนย์ปล่อยดาวเทียม (ทางบก) จำนวน 10 ครั้ง และทางทะเลจำนวน 3 ครั้ง

2. จีนบรรลุภารกิจในการตั้งสถานีตรวจวัดอากาศสูงที่สุดในโลก

4 พ.ค. 65 – เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 65 นักสำรวจทางวิทยาศาสตร์จำนวน 14 คนสามารถตั้งสถานีเฝ้าติดตามทางอุตุนิยมวิทยาอัตโนมัติจำนวน 8 แห่งบนยอดเขาเอเวอเรสต์ในระดับความสูง 7,028 เมตร 7,790 เมตร และ 8,300 เมตร ตามลำดับ และเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 65 คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยที่ราบสูงทิเบต สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ตั้งสถานีเฝ้าติดตามทางอุตุนิยมวิทยาอัตโนมัติ ณ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 8,800 เมตร บนยอดเขาเอเวอเรสต์ บรรลุภารกิจในการสร้างห้องวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนพื้นที่ที่สูงที่สุดของโลก โดยข้อมูลอุตุนิยมวิทยานี้ จะช่วยสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และกิจกรรมปืนเขา และสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์บนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตของจีน

3. จีนมีผู้อ่าน ‘หนังสือดิจิทัล’ ทะลุ 500 ล้านคนในปี 2021

5 พ.ค. 65 – รายงานจำนวนผู้อ่านหนังสือดิจิทัลของจีนประจำปี 2021 รวบรวมโดยสมาคมสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลและโสตทัศน์แห่งประเทศจีน ระบุ คนจีนอ่านหนังสือฉบับดิจิทัลมีจำนวนสูงกว่า 506 ล้านคนในปี 2020 ตลาดหนังสือดิจิทัลของจีนมีมูลค่า 4.15 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 2.16 แสนล้านบาท) เติบโตร้อยละ 18.23 เมื่อเทียบปีต่อปี ในกลุ่มผู้อ่านหนังสือดิจิทัล จำนวนกว่าร้อยละ 70 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี โดยมีคนอ่านเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ หนังสือฉบับดิจิทัลของจีนได้รับการเผยแพร่ในต่างประเทศกว่า 4 แสน ฉบับในปี 2020 ในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยหนังสือแฟนตาซีและศิลปะการต่อสู้ จัดอยู่ในหมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

4. จีนพัฒนาสปิน-ออร์บิทในฟิสิกส์ควอนตัมที่มีความแม่นยำมากขึ้น

5 พ.ค. 65 – ทีมวิจัยนำโดย ศ. กัว กวางซาน จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน ดำเนินการศึกษาฟิสิกส์ควอนตัมเรื่องปฏิสัมพันธ์ของสปิน-ออร์บิทที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมการหมุนของสปินคิวบิต (spin qubit) การค้นพบครั้งใหม่นี้ ถือเป็นพื้นฐานการวิจัยที่สำคัญสำหรับการประมวลผลที่มีความแม่นยำสูงและพัฒนาและจัดการสปินคิวบิต โดยผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ออนไลน์ในวารสารนานาชาติ (Applied Physics Review)

5. จีนพัฒนาโดรนบินอัตโนมัติเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงในพื้นที่ป่า

6 พ.ค. 65 – ทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาบันวิจัยหูโจว มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง พัฒนาโดรนหรือเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก ที่สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางต้นไม้ที่มีลำต้นกิ่งก้านซับซ้อนได้ด้วยตัวเอง โดยใช้อัลกอริทึมและระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุม งานวิจัยนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานอื่น เช่น การบินสำรวจค้นหานักท่องเที่ยวที่หลงป่า การค้นหาผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ การบินสำรวจป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งโดรนสามารถบินสำรวจในพื้นที่วงกว้างได้เร็วกว่าการเดินเท้าสำรวจโดยมนุษย์ รวมไปถึงภารกิจด้านการทหารหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องการโดรนขนาดเล็กเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงติดตั้งกล้องถ่ายภาพเพื่อการเก็บข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ แบบเรียลไทม์

  • https://news.cctv.com/2022/05/02/ARTI4jJnBbtKyQnIiyfM9oyT220502.shtml?spm=C94212.PGZDd8bkBJCZ.E850fz1ryIUd.5
  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-04/26/content_534317.htm?div=-1
  • https://www.zghy.org.cn/item/542697345398046720
  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-05/05/content_534659.htm?div=-1
  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-05/06/content_534723.htm?div=-1

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]