Science Technology Innovation Weekly No.51/2565

1. เริ่มต้นการก่อสร้างอุปกรณ์ทดสอบทางอุณหพลศาสตร์ “จ้งหัว”

28 ธ.ค. 65 – จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญของประเทศ (Major national science and technology infrastructure) ได้มีการจัดประชุมส่งเสริมการก่อสร้างโครงการในพื้นที่ใหม่ชายฝั่งตะวันตกของเมืองชิงเต่า อุปกรณ์ทดสอบทางอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics) “จ้งหัว” เป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติที่สำคัญโครงการแรกใน “แผน 5 ปี ฉบับที่ 14” ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐและเป็นโครงการแรกที่เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการ

2. เริ่มก่อสร้างฐานเซลล์แสงอาทิตย์พลังงานลม “ชาเกอหวง” ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

28 ธ.ค. 65 – โครงการฐานพลังงานใหม่ในทะเลทรายคู่ปู้ฉี (Kubuqi Desert) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองออร์โดส (Ordos) นำโดยบริษัท China Three Gorges Corporation และ บริษัท Inner Mongolia Guodian Energy Investment Co., Ltd. ได้เริ่มก่อสร้างในอำเภอ ต๋าล่าเท่อ เขตปกครองตนเองในมองโกเลีย ปัจจุบัน โครงการนี้ถือเป็นโครงการฐานพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่พัฒนาและก่อสร้างในทะเลทรายโกบี และยังเป็นโครงการพลังงานใหม่ขนาด 10 ล้านกิโลวัตต์แห่งแรกในประเทศ

3. บันทึกหลุมที่ลึกที่สุดในลุ่มน้ำเสฉวน

28 ธ.ค. 65 – รายงานจากกลุ่มบริษัทซิโนเปก (China Petroleum & Chemical Corporation หรือ SINOPEC) ว่า หลุมสำรวจหยวนเชิน-1 ที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำเสฉวน สร้างสถิติหลุมแนวตั้งที่ลึกที่สุดในลุ่มน้ำเสฉวน ขนาดความลึกได้ลงมาถึงชั้นน้ำมันและก๊าซที่ลึกที่สุด 8,866 เมตร ที่ผ่านความท้าทายในเรื่องระบบการยกของแท่นขุดเจาะและการเดินท่อที่ปลอดภัย ความเสถียรและความสามารถในการป้องกันมลพิษ นับเป็นความก้าวหน้าในการพัฒนาการสำรวจน้ำมันและก๊าซหินคาร์บอเนตในจีน

4. จีนเข้าสู่ยุคของการสำรวจคาร์บอนระยะไกลบนอวกาศ

29 ธ.ค. 65 – งานนิทรรศการการบินแอร์โชว์ไชน่า ครั้งที่ 14 มีการเปิดเผยแบบจำลองของดาวเทียมตรวจวัดคาร์บอนในระบบนิเวศภาคพื้นดิน หรือ ดาวเทียมคาร์บอน ที่พัฒนาโดย บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน (China Aerospace Science and Technology Corporation หรือ CASC) เป็นดาวเทียมสำรวจระยะไกลดวงแรกของโลกสำหรับการสังเกตการณ์แหล่งกักเก็บคาร์บอนในป่า ช่วยให้การตรวจสอบการกักเก็บคาร์บอนในจีนเข้าสู่ยุคของการรับรู้จากระยะไกลบนอวกาศได้

5. ดวงตาผสมของจีนประสบความสำเร็จในการจับภาพแผนที่ดวงจันทร์สามมิติเป็นครั้งแรก

29 ธ.ค. 65 – เรดาร์ตรวจจับห้วงอวกาศแบบกระจายรูรับแสงขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในนครฉงชิ่ง หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดวงตาผสมของจีน (China Compound Eye) ที่พัฒนาโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปักกิ่ง ศูนย์นวัตกรรมฉงชิ่ง (Beijing Institute of Technology Chongqing Innovation Center) เพิ่งเสร็จสิ้นการติดตั้ง การทดสอบ การใช้งาน และเริ่มการสังเกตการณ์ในระยะแรกของโครงการ ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพแผนที่พื้นผิวดวงจันทร์แบบสามมิติด้วยเรดาร์ภาคพื้นดินในประเทศเป็นครั้งแรก

  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/d9f6e9c1a0f1455b8f1226510514843b.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/114dafb753284f5481adc6fbc07b1d62.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/ea8277f0e3a343b08dccd4637ceb44d7.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/415c10615e06410982b32a8ffb651226.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202212/74d0ee95da79450e907da460810add4a.shtml

ผู้จัดทำ นวัต จึงเจริญธรรม
ผู้ตรวจทาน บุษรินทร์ เณรแก้ว

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]