นักวิทยาศาสตร์จีนพัฒนาเนื้อปลาจากห้องปฏิบัติการ

23 พ.ค. 66 – ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Zhejiang University) และมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคต้าเหลียน (Dalian Polytechnic University) ได้พัฒนาเนื้อปลาที่เพาะเลี้ยงให้มีลักษณะเหมือนเนื้อเยื่อสำหรับการบริโภคของมนุษย์ โดยผสมผสานเส้นใยกล้ามเนื้อปลาและเซลล์ไขมันเข้ากับเจลจากการพิมพ์ 3 มิติ โดยการแยกสเต็มเซลล์ของกล้ามเนื้อและสเต็มเซลล์ไขมันออกจากปลาจวดเหลือง (Large yellow croaker) ซึ่งเป็นปลาอพยพในเขตอบอุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติที่อร่อยและคุณค่าทางอาหาร กระบวนการผลิตเนื้อปลาใช้เวลา 17 วัน ไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเนื้อปลาเพาะเลี้ยงและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อจากปลาจริงในแง่สัดส่วนของเซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมัน ทีมวิจัยกล่าวว่า จำเป็นต้องมีการประเมินความปลอดภัยก่อนที่จะสามารถบริโภคปลาที่เพาะเลี้ยงเซลล์ได้ ผลการวิจัยได้เผยแพร่ในวารสาร  Nature Partner Journal Science of Food (งานวิจัย : https://www.nature.com/articles/s41538-023-00194-2)

https://www.chinadaily.com.cn/a/202305/23/WS646c14cca310b6054fad4868.html

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]