1. การปรับโครงสร้างล่าสุดปี 2566

1.1 ที่มาของการปรับโครงสร้าง

การประชุมสองสภาของจีน เมื่อเดือนมีนาคม 2566 มีวาระเรื่องการปรับโครงสร้างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน เพื่อวางแผนพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสร้างระบบนวัตกรรมของจีนให้ทันทุกสถานการณ์ ซึ่งโครงสร้างเดิมไม่สามารถดำเนินการได้ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่ทั้งหมดของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางผลลัพธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งส่งเสริมการบูรณาการและประสานงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ อำนาจการจัดการที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงสร้างที่ถูกปรับใหม่นี้ จะเป็นไปในรูปแบบของการจัดการแบบรวมศูนย์อย่างเป็นเอกเทศโดยคณะกรรมการกลาง

1.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงฯ

หน้าที่และความรับผิดชอบภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามโครงสร้างที่ถูกปรับใหม่ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • เสริมสร้างศักยภาพในหน้าที่ความรับผิดชอบ (หลัก)
  • รับผิดชอบการจัดการระดับมหภาค

รายละเอียดดังแผนภูมิด้านล่างนี้

โดยยังคงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งการวิจัยขั้นพื้นฐาน และส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

1.3 การปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบและความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานของกระทรวงฯ

  1. โอนงานด้านการกำหนดแผนและนโยบายส่งเสริมการพัฒนาสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปยัง คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission) กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน (Ministry of Ecology and Environment) และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน (National Health Commission: NHC)
  2. โอนงานด้านการกำหนดแผนและนโยบายส่งเสริมการพัฒนาสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโอน “ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของจีน” ไปยัง คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน
  3. โอนงานด้านการกำหนดแผนและนโยบายส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงและการพัฒนาอุตสาหกรรม การสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการพัฒนาบริการเทคโนโลยี การตลาดทางเทคโนโลยี และองค์กรตัวกลางทางเทคโนโลยี ไปยัง กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  4. โอนงานด้านการกำหนดแผนและนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรและชนบทด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาชนบทด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ “ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีชนบทของจีน” ไปยัง กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท
  5. โอนงานด้านการกำหนดแผนและนโยบายส่งเสริมการพัฒนาสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปยัง กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม
  6. โอนการบริหารกิจการผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ไปยัง กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคม

โดยระหว่างการโอนงานและเปลี่ยนแปลงหน้าที่ความรับผิดชอบดังกล่าว ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำงานร่วมกัน อาทิ กำหนดให้งานด้านนโยบายและการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านการป้องกันระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน รวมถึงโอน “ศูนย์บริหารจัดการวาระศตวรรษที่ 21 ของจีน” และ “ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ให้คณะกรรมการมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (National Natural Science Foundation of China: NSFC) รับผิดชอบแทน เป็นต้น

สำหรับนโยบายสำคัญ ๆ ก่อนที่จะปรับโครงสร้างใหม่ เช่น “แผนดำเนินการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุนคาร์บอนพีคและความเป็นกลางทางคาร์บอน (พ.ศ.2565-2573)” “แผนดําเนินการเพื่อการปกป้องระบบนิเวศและการพัฒนานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูงในลุ่มแม่น้ำเหลืองหรือฮวงโห” และ “แผนพัฒนาระยะยาว “14-5” ด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม” ยังคงให้เป็นหน้าที่หลักของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

1.4 โครงสร้างปัจจุบันของกระทรวงฯ

(ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2566)

โครงสร้างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หน่วยงานภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน่วยงานตัวแทนด้านการจัดการ
1. สำนักงานกลาง1. ศูนย์ให้บริการองค์กรของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1. มูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ
2. กรมการวางแผนเชิงกลยุทธ์2. สำนักงานรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2. สำนักข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. กรมนโยบาย ระบบระเบียบ และนวัตกรรม3. สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
4. กรมการจัดสรรและจัดการทรัพยากร4. สถาบันยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน
5. กรมการกำกับดูแลและจริยธรรมทางวิทยาศาสตร์5. ศูนย์การแลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน – ศูนย์แลกเปลี่ยนข้ามช่องแคบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / ศูนย์ความร่วมมือทางเทคนิคระหว่างจีนและญี่ปุ่น
6. กรมการดูแลโครงการสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี6. ศูนย์การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชนบท
7. กรมการวิจัยขั้นพื้นฐาน7. ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมทอร์ชไฮเทค – ศูนย์ส่งเสริมการจัดการตลาดเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน/ศูนย์บริหารจัดการกองทุนนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
8. กรมการเทคโนโลยีใหม่ระดับสูง8. ศูนย์การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศจีน
9. กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชนบท9. ศูนย์บริหารการจัดการวาระการประชุมแห่งศตวรรษ 21
10. กรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสังคม10. ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงกระทรวงวิทยาศาสตร์ – ศูนย์บริหารงานวิจัยพื้นฐาน
11. กรมการใช้ผลงานวิจัยเชิงพาณิชย์และนวัตกรรมภูมิภาค11. ศูนย์สารสนเทศ
12. กรมบริการผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ12. ศูนย์การใช้ข้อมูลดาวเทียม
13. กรมการจัดการทรัพยากรอัจฉริยะจากต่างประเทศ13. ศูนย์ประเมินเทคโนโลยีกระทรวงวิทยาศาสตร์
14. กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (สำนักงานฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน)14. ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติ
15. กรมการบุคลากร15. ศูนย์บริการดูแลค่าใช้จ่ายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16. คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำกระทรวงฯ16. ศูนย์ปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชั่นระหว่างประเทศแห่งชาติ
17. สำนักงานบุคลากรผู้เกษียณอายุ17. ศูนย์พัฒนากองทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
18. ศูนย์บริการการแลกเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
19. ศูนย์ฝึกอบรมเซี่ยงไฮ้
20. สมาคมแลกเปลี่ยนบุคลากรนานาชาติแห่งชาติ
21. มูลินิธิแลกเปลี่ยนบุคลากรผู้มีความสามารถแห่งชาติ
22. ศูนย์วิจัยผู้มีความสามารถพิเศษต่างประเทศ
หมายเหตุ : ตัวอักษรสีแดง หมายถึง หน่วยงานที่คาดว่าจะโอนไปยังองค์กรหรือกระทรวงอื่น ๆ หลังปรับโครงสร้าง

1.5 ความคาดหวังจากการปรับโครงสร้างใหม่

การปรับโครงสร้างครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการ “ลดภาระ” ที่มากเกินความจำเป็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถทำงานแบบรวมศูนย์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น มุ่งเน้นการบริหารงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยรวมได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มบทบาทนวัตกรรมที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งระบบ ซึ่งมีคุณค่าและความสำคัญในทางปฏิบัติสําหรับจีนในการบรรลุเป้าหมายแห่งการพึ่งพาตนเองและการพัฒนาตนเองทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้ากับยุคสมัย

1.6 คณะกรรมการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ

แผนการปฏิรูปหน่วยงานของคณะรัฐมนตรีจีน ซึ่งเสนอต่อสภานิติบัญญัติระดับชาติของจีนเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566  นายเซียวเจี๋ย มนตรีแห่งรัฐและเลขาธิการคณะมนตรีแห่งรัฐ อธิบายแผนการปฏิรูปต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติระดับชาติว่า จีนทำการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่วนกลางขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) และสถาบันของรัฐครั้งล่าสุด เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของการนำและการชี้แนะทางด้านเทคโนโลยีของพรรคฯ โดยกระทรวงฯ ที่ถูกปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่จะทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการชุดใหม่ด้วย


2. การปรับโครงสร้างในอดีต

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน มีการปรับโครงสร้างมาหลายครั้ง มีรายละเอียดดังนี้

วัน/เดือน/ปีรายละเอียด
พ.ค. 2499การประชุมใหญ่ครั้งที่ 28 ของสภาแห่งรัฐมีมติจัดตั้งคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติขึ้น
23 พ.ย. 2501การประชุมครั้งที่ 102 ของคณะกรรมการสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดแรก มีมติยกเลิกคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ และได้จัดตั้งคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นแทน
22 มิ.ย. 2513คณะกรรมการกลางมีมติยกเลิกคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ก.ย. 2520คณะกรรมการกลางฟื้นฟูคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กลับมาใหม่อีกครั้ง
2521ยกระดับคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
10 มี.ค. 2541การประชุมครั้งหนึ่งของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 9 อนุมัติ “มติการปฏิรูปองค์กรของคณะรัฐมนตรีจีน” เปลี่ยนชื่อคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
มี.ค. 2561การประชุมครั้งที่ 1 ของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 13 พิจารณาอนุมัติแผนปฏิรูปองค์กรของคณะรัฐมนตรีจีน มีการปรับโครงสร้างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนใหม่ โดยการบูรณาการความรับผิดชอบเดิมของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับความรับผิดชอบของกรมการบริหารรัฐของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศแห่งชาติ (State Administration of Foreign Experts Affairs) เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่จัดการดูแลคณะกรรมการมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ และยังคงรับผิดชอบงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องของกรมการบริหารรัฐของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศแห่งชาติจีน

ทั้งนี้ การปฏิรูปองค์กรของจีนเมื่อห้าปีก่อน (พ.ศ. 2561) มีการเสนอให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน “เปลี่ยนแปลงหน้าที่ความรับผิดชอบ” ที่รับผิดชอบอยู่ โดยหันมามุ่งเน้นการจัดการระดับมหภาคและการสานงานแบบรวมศูนย์ แทนการจัดการระดับจุลภาคและการพิจารณาอนุมัติเรื่องเล็ก ๆ ที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการกำกับดูแลช่วงกลางน้ำและปลายน้ำ ตลอดจนการสร้างความสุจริตในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากการดูแลและจัดการเรื่อง R&D เป็นการบริการทางด้านนวัตกรรมแทน


3. บทวิเคราะห์หรือความเห็น

เป็นที่คาดว่า การปรับโครงสร้างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ครั้งนี้ จะนำมาซึ่งการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่แท้จริงขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยิ่งขึ้น รวมถึงการลดและหลีกเลี่ยง “การจัดการหลายหัว” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การพิจารณาอนุมติโครงการสามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ปัญหาต่าง ๆ เร็วขึ้นและดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองความท้าทายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับโลกได้

อย่างไรก็ตาม ในสังคมจีนยังมีความเห็นต่อการปรับโครงสร้างครั้งนี้อีก 2 กลุ่ม คือ มองว่าโครงสร้างใหม่นี้ช่วยให้คณะกรรมาธิการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำงานได้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น สามารถพุ่งเป้าไปที่ “ปัญหาที่ติดคอ” ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็นยิ่งขึ้น ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมองว่า การปรับโครงสร้างในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่การผลักดันรูปลักษณ์ใหม่ของโครงสร้างประเทศให้มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น รวมทั้งการออกแบบนวัตกรรมใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งมุ่งเน้นการวางแผน การจัดการ และการวิจัยขั้นพื้นฐานเชิงมหภาค

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
มิถุนายน 2566


ดาวน์โหลดไฟล์ PDF

หมายเหตุ
“ปัญหาติดคอ” ทางด้านเทคโนโลยีที่จีนกำลังเผชิญหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ 35 รายการ ได้แก่

(1) เครื่องพิมพ์หิน (lithography machine)
(2) ชิป
(3) ระบบปฏิบัติการ
(4) เครื่องเซ็นเซอร์แบบสัมผัส (touch sensor)
(5) เครื่องระเหยสูญญากาศ (vacuum evaporation machine)
(6) อุปกรณ์ความถี่แผ่รังสีจากโทรศัพท์มือถือ (mobile phone radiation frequency devices)
(7) Aero-engine nacelle
(8) เทคโนโลยี iCLIP
(9) กังหันก๊าซสําหรับงานหนัก (heavy duty gas turbine)
(10) เลเซอร์และเรดาร์
(11) Airworthiness standards
(12) ตัวต้านทาน (resistor) และตัวเก็บประจุ (capacitor) ระดับไฮเอนด์
(13) ซอฟต์แวร์อุตสาหกรรมหลัก
(14) วัตถุดิบเป้าหมายอินเดียมดีบุกเคลือบออกไซด์ (indium tin oxide target-material)
(15) อัลกอริทึมคีย์ (key algorithms)
(16) Aeronautical Steel
(17) มีดปืน
(18) Bearing Steel ระดับไฮเอนด์
(19) ปั๊มลูกสูบแรงดันสูง
(20) Aircraft Design Software
(21) Photoetching glue
(22) ระบบคอมมอนเรลไฟฟ้าแรงสูง
(23) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (transmission electron microscope)
(24) Main bearing of Tunnel boring machine
(25) ไมโครสเฟียร์
(26) Underwater and Subsea Connectors
(27) แหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับการเชื่อมระดับไฮเอนด์ (high-end welding source)
(28) เครื่องแยกแบตเตอรี่ลิเธียม
(29) วัสดุหลักของเซลล์เชื้อเพลิง
(30) ส่วนประกอบอุปกรณ์ถ่ายภาพทางการแพทย์
(31) ระบบจัดการคลังข้อมูล
(32) อีพ็อกซี่เรซิ่น (epoxy resin)
(33) เทคโนโลยีการขัดเงาที่มีความแม่นยําสูง (ultra-precision polishing technology)
(34) สแตนเลสที่มีความแข็งแรงสูง
(35) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (scanning electron microscope)

ที่มาแหล่งข้อมูล (เก็บข้อมูล ณ วันที่ 28 เม.ย. – 13 พ.ค. 2566)

  • วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน ฉบับมีนาคม 2566
  • https://baijiahao.baidu.com/s?id=1760072280807406533&wfr=spider&for=pc
  • https://baijiahao.baidu.com/s?id=1759717888798716024&wfr=spider&for=pc
  • https://baijiahao.baidu.com/s?id=1759705535931299661&wfr=spider&for=pc
  • https://baijiahao.baidu.com/s?id=1759701176643160230&wfr=spider&for=pc
  • https://www.12371.gov.cn/Item/622328.aspx
  • https://baijiahao.baidu.com/s?id=1759822628557208248&wfr=spider&for=pc
  • https://www.topnews.co.th/news/619630
  • http://www.gov.cn/zhengce/2023-03/16/content_5747072.htm
  • http://www.gov.cn/xinwen/2023-03/11/content_5745977.htm
  • http://www.luhe.gov.cn/swlhxfj/gkmlpt/content/0/903/post_903346.html#3072
  • http://finance.china.com.cn/news/special/lianghui2023/20230311/5954054.shtml
  • https://www.antpedia.com/news/wx_article/835287.html
  • https://baijiahao.baidu.com/s?id=1760354540036712107&wfr=spider&for=pc