• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • นครกว่างโจว สร้างสถานีไฟฟ้าขนาด 500 kV ที่ใช้พลังงานใกล้เคียงเท่ากับศูนย์แห่งแรกของจีน

นครกว่างโจว สร้างสถานีไฟฟ้าขนาด 500 kV ที่ใช้พลังงานใกล้เคียงเท่ากับศูนย์แห่งแรกของจีน

  

บริษัท China Southern Power Grid Corporation ดำเนินโครงการสถานีไฟฟ้าขนาด 500 กิโลโวลต์ (kilovolt: kV) ที่ใช้พลังงานใกล้เคียงเท่ากับศูนย์ (nearly zero energy building) แห่งแรกของจีน  ที่นครกว่างโจว โดยสถานีไฟฟ้าดังกล่าวเป็นสถานีไฟฟ้าย่อย (substation) แบบควบคุมอัตโนมัติ ประหยัดพลังงาน และคาร์บอนต่ำ อีกทั้งยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้เองภายในตัวอาคารและที่พักอาศัยใกล้เคียงปีละกว่า 300,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kilowatt-hour: kWh)

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566 บริษัท China Southern Power Grid Corporation ได้เปิดสถานีไฟฟ้าย่อยเค่อเป่ย์ (Kebei substation) ที่เขตหวงผู่ นครกว่างโจว โดยสถานีไฟฟ้าดังกล่าวสามารถรับไฟฟ้าแรงดันสูงสุด 500 kV และเป็นอาคารที่ใช้พลังงานใกล้เคียงเท่ากับศูนย์ (nearly zero energy building) แห่งแรกของจีน อีกทั้งยังเป็นสถานีไฟฟ้านำร่องการควบคุมอัตโนมัติเต็มรูปแบบแห่งแรกของจีนที่สามารถรับระดับแรงดันไฟฟ้าที่สูงที่สุดอีกด้วย

ภายใต้ “เป้าหมายคาร์บอนคู่”[1] ของจีน สถานีไฟฟ้าย่อยเคอเป่ย์ (Kebei substation) ติดตั้งแผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์กว่า 3,000 ตารางเมตรที่ผลิตกระแฟไฟฟ้าไว้ใช้ในอาคารสำนักงานและบ้านพักในพื้นที่โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 300,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง นอกจากนี้ ภายในตัวอาคารยังใช้ “tubular skylight”หรือ เทคโนโลยีท่อนำแสงอาทิตย์ส่องสว่างภายในอาคารซึ่งช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ประมาณ 3,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีอีกด้วย

นาย Yao Bingjun ผู้จัดทั่วไปแผนกโครงสร้างพื้นฐาน สถานีไฟฟ้าเคอเป่ย์ กล่าวว่า สถานีไฟฟ้าแห่งนี้ใช้มาตรฐานการก่อสร้างแบบประหยัดพลังงานตาม “ข้อกำหนดทางเทคนิคของอาคารพลังงานใกล้เคียงเท่ากับศูนย์แห่งชาติจีน” และซึ่งสถานีไฟฟ้าเคอเป่ย์เป็นสถานีไฟฟ้าขนาด 500 kV แห่งแรกของจีนที่มีการใช้พลังงานใกล้เคียงเท่ากับศูนย์

“พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ” เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ของเขตอ่าวกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า (Guangdong – Hong Kong – Macao Greater Bay Area) โดยโครงการสถานีไฟฟ้าที่ใช้พลังงานใกล้เคียงเท่ากับศูนย์น่าจะเป็นต้นแบบการสื่อสร้างสถานีไฟฟ้าที่สำคัญในอนาคตของจีนด้วย ทั้งนี้ การสร้างอาคารที่ใช้พลังงานใกล้เคียงกับศูนย์ยังเป็นแนวทางการพัฒนาที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกำลังเร่งผลักดันเช่นกัน ซึ่งศูนย์ BIC เห็นว่า ไทยกับมณฑลกวางตุ้งน่าจะสามารถมีความร่วมมือแลกเปลี่ยนด้านวิชาการและเทคโนโลยีสาขาดังกล่าวระหว่างกันได้ เพื่อให้ไทยสามารถขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนา BCG และเข้าใกล้เป้าหมายการพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

[1] เมื่อเดือนตุลาคม 64 จีนประกาศเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนในระดับสูงสุด (Carbon Emission Peak) ภายในปี ค.ศ. 2030 และปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2060

สรศักดิ์ บุญรอด เขียน
22 มีนาคม 2566

แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.sasac.gov.cn/n2588025/n2588124/c27366589/content.html
https://static.nfapp.southcn.com/content/202303/02/c7414032.html

webmaster

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู

ที่มา : https://thaibizchina.com/

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]