• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • “มองเผินๆนึกว่าสินค้าไทย เพ่งดีดี โป๊ะแตก สินค้าจีน(ฮ่องกง) ทำเนียนเป็นของไทย” …

“มองเผินๆนึกว่าสินค้าไทย เพ่งดีดี โป๊ะแตก สินค้าจีน(ฮ่องกง) ทำเนียนเป็นของไทย” …

“มองเผินๆนึกว่าสินค้าไทย เพ่งดีดี โป๊ะแตก สินค้าจีน(ฮ่องกง) ทำเนียนเป็นของไทย”

ว๊าวววว เดี๋ยวนี้ขนมขบเคี้ยว สินค้าไทยๆมาขายในจีนเต็มเลย ดีใจจัง คือเมื่อเห็นครั้งแรกเชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกแบบนี้ แต่เมื่อเพ่งสายตาดีดี ก็ถึงกับต้องเบรกดังเอี๊ยดดด

เพราะ “นี่มันลอกเลียนแบบว่าเป็นของไทบ แต่จริงแล้วผลิตที่จีนฮะ ดูจากภาษาที่ใช้ที่เหมือนจะเกือบเนียน แต่ก็ยังคงผิด”

อย่างรูปแรก เว้นบรรทัดผิด ตัดคำผิด คือจริงๆ มันผิดทั้งประโยคนั่นแหล่ะ “เพิ่มเครื่องเทศไทยบนท้องถิ่นปากหมูที่สุกกำลังดีมีความสุขกับของแข็ง” ( ต้องการสื่อสารอะไรหว่า ว่าแต่อะไรแข็งหราาา อ้ายจงสับสน 555)

อีกอันหนึ่ง พอพลิกมาด้านหลังกระป๋อง ก็ต้องผงะกับวัตถุดิบ “น้ำหอม” คือถ้าเป็นสินค้าไทยแท้ๆ คงใช้คำว่า สารแต่งกลิ่น มากกว่านะฮะ

เดี๋ยวนี้เวลาอ้ายจง รวมถึงคนไทยคนอื่น เจอของไทยที่วางขายในจีน หากเป็นแบรนด์ที่ไม่เคยเจอในไทย ก็ต่างทำเหมือนกันคือ

“พลิกดูข้อมูลบริษัทผู้ผลิต ว่าผลิตที่ 泰国 ประเทศไทย หรือไม่? ถ้านำเข้ามาจากไทย ส่วนใหญ่จะเป็นการแปะฉลากภาษาจีนทับ ดังนั้นยังคงมีภาษาไทยบ้าง และอีกสิ่งที่สามารถบอกได้ (ถ้าหากไม่โดนปลอมแปลงอีก) นั่นคือ เลขบาร์โค้ด โดยของไทย จะขึ้นด้วย 885 อย่างของเคสนี้ ผลิตที่ฮ่องกง เลขบาร์โค้ดจึงขึ้นต้นด้วย 489”

อย่างที่เคยบอกอยู่บ่อยครั้งว่า สินค้าไทยได้รับความนิยมในจีนมาก มีนำเข้าสินค้าไทยมาขายในจีนจำนวนมาก ซึ่งสินค้าที่ไม่ได้เป็นของไทยแท้ แต่ทำชื่อแบรนด์ ใส่ภาษาไทยลงไปให้คนเข้าใจผิดก็เยอะ (บางบริษัทในจีน จ้างผลิต OEM ที่ไทย แต่เขียนภาษาไทยผิดๆบนสินค้า ก็มี)

ทางที่ดี เวลาเจอสินค้าไทยไทย ก็ลองพลิกดูรายละเอียดสักนิด เพื่อความสบายใจในการบริโภค เพราะทุกคน รวมถึงคนจีนเองก็คงอยากบริโภคสินค้าไทยแท้ๆอะเนอะ

อ้ายจงขอขอบคุณรูปภาพจากพี่คนไทยในมหานครเซี่ยงไฮ้ (ถ่ายภาพจาก มินิมาร์ทสินค้าไต้หวัน ในเซี่ยงไฮ้)

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน





ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]