• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ชีวิตในจีน: รีวิวขั้นตอนหาหมอในจีน และตัวอย่างประสบการณ์จริง ผ่าตัดเล็กในจีน จ่า…

ชีวิตในจีน: รีวิวขั้นตอนหาหมอในจีน และตัวอย่างประสบการณ์จริง ผ่าตัดเล็กในจีน จ่า…

ชีวิตในจีน: รีวิวขั้นตอนหาหมอในจีน และตัวอย่างประสบการณ์จริง ผ่าตัดเล็กในจีน จ่ายเงินและเบิกยาชาไปให้หมอเพื่อผ่าตัด ตามระบบของจีน ” จ่ายก่อนจึงรักษา”

—–

หลังจากที่อ้ายจงได้เล่าเรื่อง “อยู่เมืองจีนต้องStrong เมื่อหาหมอในจีน หลายครั้งคุณอาจจะรู้สึกว่า อบอุ่นกว่าเช่นเคย เพราะมีคนเข้ามารอ(กดดัน)เข้าคิวถึงในห้องตรวจ นั่งฟังผลตรวจไปพร้อมกับคุณ” ไปแล้ว

.

คราวนี้อ้ายจงขอเล่าประสบการณ์การหาหมอในจีน และขั้นตอนการเข้ารับรักษาพยาบาลที่จีน ที่ค่อนข้างแตกต่างจากไทยพอสมควร

1. เวลาไปหาหมอที่รพ. ก็ต้องไปลงทะเบียน อันนี้เหมือนกับไทย แต่ที่แตกต่างคือ หลายโรงพยาบาลจะมีระบบ บัตรรพ.ที่เป็นบัตรเติมเงินสำหรับจ่ายค่ารักษาพยาบาล-ค่ายา เดี๋ยวนี้รพ.จีน ก็สามารถจ่ายผ่าน Alipay, WeChat Pay ตาม Concept Cashless societyได้แล้วนะ

2. จากข้อ 1. ระบบรักษาพยาบาลในจีนคือ “จ่ายเงินก่อน” จึงจะรักษา ไม่ว่าจะค่าตรวจ หรือค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ -ค่า Xray อะไรทำนองนี้

แม้แต่เบิก “ถุงเลือด”, “น้ำเกลือ”, “ยาชา” เราก็ต้องไปเบิกเอง แล้วนำมาให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เพื่อใช้รักษาเรา

3. เวลาเรารับยาก็เช่นกัน พอเราตรวจเสร็จ จะมีบอกว่า เราต้องใช้ยาอะไรบ้าง ก็จ่ายเงินก่อน แล้วค่อยไปรับยา อันนี้เหมือนที่ไทย

แต่จีนอาจจะไฮเทคกว่าหน่อย เดี๋ยวนี้รพ.ในจีนจำนวนมาก จะมีเครื่องสำหรับจ่ายเงิน เพื่อไปรับยา เพียงเราเอาบัตรรพ.เสียบหรือแตะที่เครื่อง ประวัติของเราก็จะขึ้นมา พร้อมบอกว่าต้องซื้อยาอะไรบ้าง รวมเป็นเงินเท่าไหร่ เราก็ทำการจ่ายเงิน เสร็จแล้วจะไปขึ้นระบบที่ห้องจ่ายยาโดยอัตโนมัติ

ตอนนี้โรงพยาบาลจีนเริ่มนำระบบสแกนใบหน้ามาเพิ่มความสะดวกสบายให้คนไข้แล้วนะ แค่สแกนใบหน้าก็สามารถนัดหมอ และจ่ายเงินผ่านแอพมือถือ เช่น Alipay ได้ทันที เริ่มนำมาใช้ได้สองสามปีแล้ว

โรงพยาบาลในเมืองหังโจว เป็นโรงพยาบาลแรกๆที่นำร่อง นำเทคโนโลยีรู้จำใบหน้ามาใช้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย โดยผู้ที่มีประกันสังคมในเมืองหังโจวอยู่แล้ว สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่มเติม แต่ถ้าใครที่ไม่มี หรือเป็นคนนอกพื้นที่หังโจว จะต้องลงทะเบียนและเชื่อมข้อมูลบนแอพAlipay กระเป๋าเงินออนไลน์ของเรา เข้ากับระบบของหน่วยงานความปลอดภัยสาธารณะ Public Security Bureau จึงจะใช้งานเครื่องนี้ได้

.

สรุปให้เห็นภาพรวมของระบบการรักษาในจีน เข้าใจง่ายๆ คือ “จ่ายเงิน ก่อนรักษา ก่อนรับยา พูดง่ายๆคือก่อนรับบริการทุกกระบวนการทางการแพทย์ ต้องจ่ายเงินก่อน ”

ตอนอยู่จีน ตั้งแต่ 2011-2019 อ้ายจงก็ไปหาหมอที่โรงพยาบาลจีนบ่อยอยู่นะครับ แต่ที่ไม่มีวันลืมและจำได้แม่น คือ อ้ายจงต้องผ่าตัดเล็กที่บริเวณศีรษะ ในปี2015 ที่โรงพยาบาลในเมืองซีอาน มณฑลส่านซี

พออ้ายจงไปโรงพยาบาลตามหมอนัด ที่จะผ่าตัด สิ่งที่อ้ายจงต้องทำ ไม่ใช่คือไปเข้ารับการผ่าได้เลยนะ

แต่ ต้องไปโกนผมที่ร้านตัดผมใกล้ๆกับโรงพยาบาล คือ เป็นคำสั่งของหมอ ให้คนไข้ไปโกนผม ไปเตรียมให้พร้อมเพื่อผ่าตัด

จากนั้นกลับมาที่โรงพยาบาล ก็มาจ่ายเงินก่อน เขาจะคำนวนออกมาเรียบร้อยแล้วว่าวันนี้เราต้องใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ถ้ามีประกัน ก็ขอบิล ขอเอกสารมาสำหรับเบิกย้อนหลังได้

ที่พีคและทำให้จดจำเหตุการณ์ในวันนั้นได้ถึงวันนี้ ก็คือ “อ้ายจงต้องจ่ายเงินและเบิกยาชารวมถึงยา-อุปกรณ์อื่นๆที่หมอต้องใช้สำหรับผ่าตัดเล็กให้อ้ายจง”

ตอนนั้นแอบตกใจนะ แต่พอผ่าตัดเสร็จ ก็ดูเป็นเรื่องขำเหมือนกันนะ คนไข้ถือยาชาและยาอื่นๆไปให้หมอเพื่อผ่าให้เรา 55

การผ่าตัดวันนั้นก็เป็นไปด้วยดีครับ ไม่งั้นคงไม่มีอ้ายจงมาเล่าเรื่องในวันนี้เนอะ

ถ้าเป็นเหตุฉุกเฉิน – เกิดอะบัติเหตุ คิดว่าน่าจะยืดหยุ่นกว่านี้นะครับ ในส่วนของการเบิกยามาให้หมอรักษาเรา

ใครอ่านเรื่องนี้แล้ว ไม่ต้องกลัวการรักษาพยาบาลในจีนนะ จริงๆหมอที่จีนเก่งมาก แต่เป็นเพราะว่าประชากรเยอะ จึงต้องมีระบบมาควบคุม ซึ่ง “การจ่ายเงินก่อน รวมทั้งเบิกอุปกรณ์-เบิกยาไปให้หมอ” ก็ดูจะเป็น1ในมาตรการที่ทำให้จัดการควบคุมได้ง่าย ตัดปัญหาการไม่จ่ายเงิน และคนไข้ยังสามารถรู้ได้ตั้งแต่ทีแรกว่า ต้องเสียค่าอะไรบ้าง หมอต้องใช้ยาอะไรบ้างในการรักษาเรา

—–

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน


ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]