1. ข้อมูลทั่วไปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

ในช่วงทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา จีนมีพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และการสาธารณสุข เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีรถไฟและระบบราง เทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมแปรรูปสมัยใหม่

ในปี 2558 รัฐบาลจีนประกาศแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี เพื่อบรรลุนโยบาย “Made in China 2025” โดยกำหนดทิศทางการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศจีนโดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรม และเมื่อเดือนกันยายน 2559 รัฐบาลจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประกาศ “แผนพิเศษว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์ “One Belt One Road (OBOR)” ที่ขับเคลื่อนโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MOST) คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติจีน (NDRC) กระทรวงการต่างประเทศ (MOFA) และกระทรวงพาณิชย์ (MOC) โดยมีเป้าหมายในระยะ 4 – 5 ปี คือ การแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติในประเทศจีน มีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในประเทศจีน สร้างความร่วมมือในรูปแบบของข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจกับประเทศตามเส้นทาง OBOR และพัฒนาแพลตฟอร์มสำคัญ เช่น ห้องปฏิบัติการทดลองร่วม ศูนย์วิจัยร่วม ศูนย์ถ่ายโอนเทคโนโลยี ฐานส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และอุทยานวิทยาศาสตร์

2. ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไทย – จีน

2.1 ความร่วมมือระดับรัฐบาล

ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีกรอบความร่วมมือในระดับรัฐบาลทั้งสิ้น 2 กรอบ

(1) ความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (คกร.) ไทย – จีน (Sino – Thai joint Committee of the Science and Technical Cooperation)

ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศมีข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2521 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่ระบุวันหมดอายุจนกว่าจะมีการยกเลิก ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้ คกร. ไทย-จีน โดยมีการสร้างความร่วมมือใน 3 รูปแบบ คือ การศึกษาดูงาน ความร่วมมือทวิภาคี และไตรภาคี

ผลการประชุม คกร. ไทย-จีน สมัยที่ 22 เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ โครงการในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ ข้อเสนอโครงการศึกษาดูงานของวศ. จำนวน 1 โครงการ และข้อเสนอโครงการความร่วมมือทวิภาคีของ ศน.สวทช. สสนก. และ วศ. หน่วยงานละ 1 โครงการ และของ ศอ.สวทช. จำนวน 22 โครงการ รวมทั้งฝ่ายจีนขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาข้อเสนอของ สดร. เพิ่มเติมอีก 1 โครงการด้วย

(2) ความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง ไทย – จีน (JC เศรษฐกิจ ไทย – จีน)

ประเทศไทยโดยกระทรวงพาณิชย์มีความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศจีน ซึ่งมีการจัดประชุม JC เศรษฐกิจ ไทย – จีน ทุก 2 ปี โดยมีประเด็นความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นสาขาหนึ่งของความร่วมมือด้วย

ผลการประชุม JC เศรษฐกิจ ไทย – จีน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในการสร้างความร่วมมือด้าน Quantum Computing การเกษตรแม่นยำและเกษตรสมัยใหม่ การจัดตั้ง Biopharma and Nanomedicine Innovation Hub รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนใน EECi และ Food Innopolis นอกจากนี้ ยังมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่าง สทอภ. กับสถาบันอวกาศแห่งชาติของจีนเพื่อสร้างความร่วมมือด้านการผลิตและการวิจัยเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศด้วย

2.2 ความร่วมมือระดับกระทรวง

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เดิม) มีการจัดทำข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กับสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 5 ฉบับ คือ

ข้อตกลง/บันทึกความเข้าใจวันลงนามวันหมดอายุ
 1. ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือใน 4 โครงการระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน11 ตุลาคม 255610 ตุลาคม 2561
 2. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี29 กรกฎาคม 2548ไม่มี จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งยกเลิก
 3. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน16 พฤษภาคม 2549ไม่มี จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งยกเลิก
 4. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ EECi และ Silk Road Economic Belt)9 ธันวาคม 25598 ธันวาคม 2564
 5. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน5 พฤศจิกายน 25624 พฤศจิกายน 2567

(1) สถานภาพความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไทย – จีน

ความร่วมมือภายใต้กรอบ STEP Program ตามข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มี 6 สาขา ดังนี้

สาขาความร่วมมือหน่วยงานไทยหน่วยงานจีน
1. ความร่วมมือด้านการจัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมไทย – จีน ด้านระบบราง (Thailand – China Joint Research Center on Railway System)– สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
– สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
CRRC Qingdao Sifang Co., Ltd.
2. ความร่วมมือด้านการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology Application)สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (GISTDA, องค์การมหาชน)– National Remote Sensing Center of China (NRSCC)
– China Center for Resources Satellite Data and Application (CRESDA)
3. ความร่วมมือด้านการจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้าน เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์– สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
– สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (วว.)
Institute of Microbiology, CAS (IMCAS)
4. ความร่วมมือด้านการวิจัย นโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI Policy Cooperation)สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)Beijing Great Wall Enterprise Institute (GEI)
5. การแลกเปลี่ยนบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)China Science and Technology Exchange Center
6. โครงการศูนย์ถ่ายทอด เทคโนโลยีไทย-จีน (Thai-China Technology Transfer Center หรือ TCTTC)สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)China-ASEAN Technology Transfer Center (CATTC)

(2) สถานภาพความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กับหน่วยงานต่าง ๆ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

หน่วยงานไทยหน่วยงานไทยหน่วยงานจีนสาขาความร่วมมือ
1. กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)1.1 กองวัสดุวิศวกรรมChinese Academy of Science (CAS)ร่วมศึกษาวิจัยด้านวัสดุสมัยใหม่สำหรับ งานวิจัยที่สนับสนุนอุตสาหกรรมทางการแพทย์ การบิน และอากาศยาน
1.2 กองวัสดุวิศวกรรมBeijing Research and Design Institute of Rubber Industry Co., Ltdโครงการ China-Thailand Rubber Research and Technology Exchange Visits เป็นโครงการแลกเปลี่ยนการศึกษาดูงานด้านการทดสอบยางและการวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม (ภายใต้โครงการ คกร. ไทย-จีน สมัยที่ 22)
1.3 ศูนย์เชี่ยวชาญด้านแก้วWuhan University of Technologyโครงการพัฒนากระจกอัจฉริยะ สำหรับประหยัดพลังงานในอาคาร เป็นโครงการทวิภาคี (Bilateral Cooperation Projects) ด้าน เทคโนโลยีกระจกอัจฉริยะ และ นวัตกรรมในการประหยัดพลังงาน (ภายใต้โครงการ คกร. ไทย-จีน สมัยที่ 22)
2. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (วว.) (รัฐวิสาหกิจ)2.1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (วว.) ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) พว.สวทช.Institute of Microbiology, Chinese Academy of Sciences (IMCAS)โครงการการจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมมือด้านเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ Thailand – China Joint Laboratory on Microbial Biotechnology, Institute of Microbiology ภายใต้กรอบความร่วมมือ STEP
2.2. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.)Suzhou Setek Co. Ltd. และ Jiangsu Bio-Engineering Research Center for Selenium, University of Science and Technology of Chinaโครงการศึกษาการแจกกระจายของ ซีลีเนียมในดินการเกษตรของไทย และการผลิตพืชเสริมซีลีเนียม (เพื่อการวิจัยและพัฒนาการเกษตรเชิงหน้าที่)
3. สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์ประเทศไทย (สวทช.) (NSTDA)3.1 ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์ประเทศไทย (ศอ.สวทช.) (NECTEC,NSTDA)1. Chinese Academy of Science (CAS)1. การร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ “Memorandum of Understanding on Collaboration in Research and Development of Natural Language Processing Technology, Corpus Linguistics Technology and Applications” เพื่อดำเนินความร่วมมือด้าน วทน. กับ CAS ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
1.1 ศอ.สวทช. กับ ICT,CAS ร่วมจัดทำโครงการ “A neural machine translation for the improvement of Chinese-Thai Machine Translation” ภายใต้ คกร. ไทย-จีน ครั้งที่ 22
2. Chinese Academy of Science (CAS) โดย Institute of Remote Sensing and Digital Earth (RADI)2. การร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ หัวข้อ “Memorandum of Understanding on Crop Monitoring Technology and Applications” เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2561 ณ กรุงปักกิ่ง (ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี)
2.1 ศอ.สวทช. ร่วมกับผู้แทนจาก RADI, CAS ร่วมจัดทำข้อเสนอ “โครงการความร่วมมือเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการผลผลิตไทย – จีน” ภายใต้โครงการผลักดันความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่าง ไทย – จีน ปี 2562
3. Shanghai Advanced Research Institute (SARI), Chinese Academy of Sciences (CAS)3. การลงนามในบันทึกความเข้าใจ หัวข้อ “Memorandum of Understanding on Cooperation in the field of Information Technology (ICT) for Aging Society and Other Mutual Interests” เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 61
3.1 โครงการ “Individual Behavior Recognition based Multi- Sensor Network for Intelligent Elderly Care System” ภายใต้ คกร. ไทย-จีน ครั้งที่ 22
4. Shanghai Jiaotong University4. ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูสำหรับผู้พิการหรือผู้ป่วยด้วยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงผ่านการพัฒนาระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของข้อมือ
3.2 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพ แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย (ศช.สวทช.)Xishuangbanna Tropical Botanical Garden (XTBG), Chinese Academy of Sciences (CAS)1. ความร่วมมือด้านการศึกษาเปรียบเทียบระบบนิเวศวิทยาตามเพื่อศึกษาหน้าที่การทำงานของระบบนิเวศในมิติต่างๆ
3.3 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (ศว.สวทช.)National Metal and Materials Technology Center and Institute of Metal Research (IMR), Chinese Academy of Sciences (CAS)1. ความร่วมมือเชิงวิชาการและการวิจัย ภายใต้ Memorandum of Understanding on Academic and Research Collaboration between National Science and Technology Development Agency
2. ความร่วมมือด้านการทำวิจัยร่วมกันในเรื่องการตรวจสอบการกัดกร่อนด้วยเซ็นเซอร์ EILS ตามเส้นทาง ONE-BELT-ONE-ROAD ในประเทศไทย
3.4 ศูนย์นาโนเทคโนโลยี แห่งชาติ สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย (ศน.สวทช.) (NANOTEC, NSTDA)1. National Center for Nanoscience and Technology (NCNST), Chinese Academy of Sciences (CAS)1. โครงการความร่วมมือด้าน Nano Pesticide, Microcapsule Encapsulation และ Nanomedicine- MOU on the research and development ลงนามเมื่อ 7 เม.ย. 2556 สัญญามีอายุ 5 ปี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี เสด็จฯ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือ
1.1 การขยายอายุความร่วมมือ The First Amendment Agreement of Memorandum of Understanding on The Research and Development Collaboration NANOTEC,
NSTDA and NCNST ลงนามเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2561 สัญญามีอายุ 5 ปี
2. ความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาด้าน Nanopesticide เรื่อง การพัฒนาสารอนุพันธ์ของมารินในรูปแคปซูล ระดับนาโนสำหรับให้เป็นตัวพาฮอร์โมนและยาปราบศัตรูพืชที่สามารถกระตุ้นการปลดปล่อยได้ด้วยแสง
3. ความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาด้าน Nanomedicine เรื่อง An investigation of nanocarrier- mediated delivery of CRISPR- Cas9 to breast cancer cells
2. Nanoscience and Technology Research Center (NTC), Shanghai University (SHU)2. ความร่วมมือด้าน Nanomaterial: Simulation, Energy and Catalysis และ Nanomedicine ภายใต้
MOU between NANOTEC, NSTDA and Nanoscience and Technology Research Center (NTC), Shanghai University ลงนามเมื่อ 1 ก.ค. 2559 สัญญามีอายุ 5 ปี
2.1 ร่วมกันจัดตั้ง joint research and development center ร่วมกัน เพื่อดำเนินโครงการวิจัยร่วมกันด้านวัสดุนาโน เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Green Nanomaterials) ระยะเวลา 3 ปี เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561
2.2 ร่วมมือวิจัยและพัฒนาด้าน Catalysis
3. Shanghai Normal University3. ความร่วมมือด้าน Nanomaterial for Membrane Separation
โดย ดร. วรายุทธ สะโจมแสง ร่วมกับ Prof. Fang Zhang, Department of Chemistry, Shanghai Normal University
4. Department of Environmental Science and Engineering, Shanghai Jiao Tong University4. ความร่วมมือด้าน Energy (Perovskite Solar Cells) และ Energy (Artificial Photosynthesis)
5. Shenzhen University5. ความร่วมมือด้าน X-ray Absorption Spectroscopy (XAS) and Catalysis โดยมี ดร.พงษ์ ธนวัฒน์ เข็มทอง นักวิจัย ได้รับเชิญเป็น invited speaker เพื่อนำเสนอผลงาน ณ Shenzhen University
6. Fudan University6. ความร่วมมือด้าน Energy โดยในปี 2558 ศน.สวทช. มีงานวิจัยร่วมกับ Prof. Guo Jia, Department of Macromolecular Science เกี่ยวกับ Synthesis and functionalization of multiple- scale conjugated microporous polymers, Preparation and functionalization of coordination polymer composite nanoparticles และ Template-directed Synthesis of crystalline covalent organic frameworks
7. Center for Nanochemistry (CNC), Peking University7. ความร่วมมือด้าน Nanochemistry ภายใต้ MOU on the Research and Development between NANOTEC, NSTDA and Center for Nanochemistry (CNC), Peking University ลงนามเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2556 สัญญามีอายุ 5 ปี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นสักขี พยานในพิธีลงนามความร่วมมือ
8. National Environmental Corrosion Platform, University of Science and Technology Beijing (USTB)8. MOU ระหว่าง ศว.สวทช. และ USTB ลงนามสัญญาไปเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2560 และจะสิ้นสุดวันที่ 24 ม.ค. 2563 โดยกลุ่ม วิจัยโลหะ ทำวิจัยเรื่องการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศรวมถึงการวิเคราะห์ความเสียหาย
3.5 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน ชีววิทยาศาสตร์ (ศลช)Beijing Genomics Institute (BGI)การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพันธุกรรม รวมทั้งการร่วมกันจัดตงั้ โครงการธนาคารพันธุกรรมแห่งชาติ (The National Genome and Gene Bank Project)
3.6 สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.)1. China Academy of Science Innovation Cooperation Center1. การพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
2. University of Chinese Academy of Sciences2. โครงการความร่วมมือภายใต้ MOU สวทช./UCAS เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย รวมถึงการร่วมวิจัย การจัดสัมมนาร่วม การสนับสนุน training course ร่วมกัน
3. Chinese Academy of Sciences (CAS)3. ความร่วมมือภายใต้กรอบ The Alliance of International Science Organizations (ANSO) ในลักษณะ NGO ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดย CAS เป็นหน่วยงานที่ริเริ่มผลักดันภายใต้ นโยบาย “the Belt and Road” โดยมีหน่วยงานสมาชิกทั้งหมด 37 ประเทศจากทวีปเอเซีย ยุโรปและ แอฟริกา
4. สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)National Institute of Metrology (NIM China)โครงการภายใต้ Memorandum of understanding ระหว่าง มว. และ NIM, China ผ่านความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ การรับ การตรวจประเมินคุณภาพการทำวิจัยร่วม การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งการเยือนของผู้บริหารระดับสูง
5. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)Institute of Plasma Physics, Chinese Academy of Sciences(ASIPP)1. ลงนามความร่วมมือกับสถาบันฟิสิกส์พลาสมา (Institute of Plasma Physics, Chinese Academy of Sciences(ASIPP)) เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2560 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามแผนงานการเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมาและพลังงานฟิวชั่นของประเทศ มีขอบเขตการดำเนินงานดังนึ้
1.1 การแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อการฝึกอบรม การทำวิจัยร่วม การเข้าร่วมสัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการต่างๆ รวมทั้ง การให้การศึกษาแก่นักศึกษา
1.2 การร่วมกันพัฒนาห้องปฏิบัติการร่วมเพื่อการวิจัยด้านพลาสมา
6. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.)1. Institute of Remote Sensing and Digital Earth (RADI)1. ระบบสืบค้นและดาวน์โหลดภาพจากดาวเทียมของจีน
2. โครงการจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศนานาชาติ ดิจิทัลหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสาขา กรุงเทพมหานคร (Digital Belt and Road International Centre of Excellence, Bangkok)
2. Technology and Engineering Center for Space Utilization (CSU)3. ความร่วมมือเรื่องการวิจัย ทดลองด้านวิทยาศาสตร์ อวกาศ และการสำรวจอวกาศ
3. China National Space Administration (CNSA)4. กิจกรรมภายใต้คณะกรรมการร่วม ว่า ด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างไทย – จีน (JC เศรษฐกิจไทย – จีน) โดยมีการดำเนินการ
1) การเฝ้าระวังวัตถุอวกาศ
2) การวิจัยและทดลองในอวกาศ (ระยะสั้น) (อยู่ระหว่างจัดทำ MOU ร่วมกับ (CASC – CAST)
7. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.)Institute of Atmospheric Physics (IAP), โดย Chinese Academy of Sciences (CAS)1.ความร่วมมือมุ่งเน้นเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบจำลองสภาพอากาศ แบบจำลองมลภาวะ และแบบจำลองอุทกวิทยา มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ ฉบับที่ 2 (เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2559 – 16 มิถุนายน 2564)
1.1 การส่งนักวิจัยไปร่วมอบรม ทำงานวิจัย และจัดอบรม Research to Operation (R2O) ร่วมกันในสาขา Advanced Numerical Weather Prediction (NWP), Earth System Model, และ High Performance Computing (HPC)
2.การดำเนินความร่วมมือฉบับที่ 1 ที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนบุคคลากรไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานในเวทีประชุมวิชาการนานาชาติ และให้ ทุนการศึกษาในระดับปริญญาเอก
8. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)1. Yunnan Observatories, CAS (YNO)1. ร่วมทำข้อตกลง สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบ Robotic ขนาด 70 เซนติเมตร ที่สถานีเกาเหมยกู่ เมืองลี่เจียง มณฑลยูนนาน เพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางดาราศาสตร์ร่วมของทั้งสองสถาบันดำเนินโครงการภายใต้ Sino-Thai research collaboration (เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2557 – ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดจะแจ้งยกเลิก)
2. การลงนามบันทึกความเข้าใจ Memorandum of Understanding between National Astronomical Research Institute of Thailand and Yunnan Observatories, CAS (YNO) ระหว่าง สดร. กับ Yunnan Observatories, CAS (YNO) (เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 – 6 มกราคม 2564) มุ่งเน้นความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนงานวิจัย ความร่วมมือในการพัฒนาเครื่องมือทางดาราศาสตร์ และการแลกเปลี่ยน พัฒนาบุคลากร รวมถึงการผลิตบัณฑิตทางดาราศาสตร์ และความร่วมมือในการสร้างกล้องโทรทรรศน์แบบ Robotic ขนาด 70 เซนติเมตร ดำเนินโครงการภายใต้ Sino-Thai research collaboration
2.1 การทำวิจัยร่วมกัน
2.2 การแลกเปลี่ยนนักวิจัย และการรับผู้ช่วยนักวิจัยของ สดร. เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ที่ YNO, University of Chinese Academy of Science (UCAS)
3. ร่วมทำข้อตกลง Agreement on Establishing a Sino- Thai Astronomical Joint Laboratory (เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 – ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่าย ใดจะแจ้งยกเลิก)
เพื่อใช้ห้องปฏิบัติการ ในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางดาราศาสตร์ร่วมกันของทั้งสองสถาบัน
2. National Astronomical Observatories, Chinese Academy of Sciences (NAOC)4. การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง สดร. และ NAOC (เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 – 4 เมษายน 2566)
4.1 การศึกษา/วิจัยดาราศาสตร์และ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน Radio Astronomy และ Optical Astronomy Development
4.2 การแลกเปลี่ยน/พัฒนาบุคลากร ระหว่างทั้งสองหน่วยงาน
3. Shanghai Astronomical Observatory (SHAO) , CAS5. การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง สดร. และ Shanghai Astronomical Observatory เรื่อง ความร่วมมือด้านดาราศาสตร์วิทยุ (Radio Astronomy) โดยการพัฒนาและติดตั้งกล้อง โทรทรรศน์ VGOS (VLBI Global Observing System) (เมื่อปี ค.ศ. 2017 – ค.ศ. 2027)
5.1 เพื่อเป็นการศึกษา ค้นคว้าด้านยีโอเดซี่ และการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก โดยกล้อง VGOS จะมีการพัฒนาร่วมกันระหว่างวิศวกรไทยและจีน เป็นการยกระดับเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์วิทยุของไทย
4. Institute of Earth and Environment (IEE) , CAS6. การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง สดร. และ Institute of Earth and Environment, CAS
เรื่อง ความร่วมมือด้าน Earth- Atmosphere System Observation
6.1 การทำวิจัยร่วมกัน การแลกเปลี่ยนบุคลากร
6.2 การศึกษาคุณสมบัติของละอองลอยในชั้นบรรยากาศ โดย MOU ดังกล่าวจะ ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งสองหน่วยงานได้ทำงานวิจัยร่วมกัน
9. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)1. Institute of Agricultural Economics and Development (IAED), Chinese Academy of Agricultural Sciences (CAAS)1. ทำวิจัยทางด้านการเกษตรภายใต้ โครงการ Agro Informatics for SDGs on Community Water Resource Management (CWRM)
2. Institute of Agricultural Economics and Development (IAED) และ Institute of Environment and Sustainable Development in Agriculture (IEDA), Chinese Academy of Agricultural Sciences (CAAS)2. “Project Collaboration on Community Water Runoff Management for Climate Change Adaptation Phase II”
เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาร่วม ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ ไทย – จีน ครั้งที่ 22
10. องค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (รัฐวิสาหกิจ) (อพ.)1. Shanghai Science and Technology Museum (SSTM)1. Science Communication, Science Popularization
การลงนามความร่วมมือระหว่าง อพ. กับ SSTM โดยมีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ การฝึกอบรมระหว่างกัน
2. การพัฒนากิจกรรมเสริมศึกษา และการนำเสนอสื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผ่านภาพยนตร์ และการแลกเปลี่ยนนิทรรศการ
2. Beijing Association for Science and Technology (BAST) และ China Association for Science and Technology (CAST)2. Science Communication, Science Popularization
3. Beijing Association for Science and Technology (BAST) และ Bangkok Innovation Center of Chinese Academy of Sciences (CAS-Bangkok)3. Science Communication, Science Popularization
11. สำนักงานประสานงาน โครงการตามพระราชดำริฯ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี*1. สภาวิทยาศาสตร์แห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน1. การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ครั้งที่ 4 (มีการลงนามบันทึกความเข้าใจมาแล้ว 3 ครั้ง) ในวันที่ 7 เม.ย. 2560 ที่ยูแคส กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่ยังมีความขาดแคลน มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปี
1.1 ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนให้มีการส่ง บุคคลากรไปศึกษาระดับปริญญาโท หรือเอก ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยูแคส ไม่เกินปีละ 10 ทุน
1.2 ทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ การประชุมผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อร่วมกันติดตามการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจ
12. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)1. The National Natural Science Foundation of China (NSFC)1. The National Natural Science Foundation of China (NSFC) 1. การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ใน พ.ศ. 2535 (1992) เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยไทยและจีน ได้มีโอกาสทำการวิจัยร่วมกัน ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางการวิจัยในสาขาวิชาการต่างๆ โดยมีกิจกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือ 4 ลักษณะ ดังนี้
1.1 การทำวิจัยร่วมระหว่างนักวิจัยไทยและนักวิจัยจีน
1.2 การแลกเปลี่ยนนักวิจัยระยะสั้น
1.3 การสัมมนาร่วม/การประชุมทางวิชาการ
1.4 การประชุมประจำปีของผู้บริหาร
สาขาวิชาการความร่วมมือ
1) โครงการวิจัยร่วม
1.1) แบบเปิดกว้างในเชิงสร้างองค์ความรู้ (research-oriented basis) (พ.ศ. 2550-2557) คือ สาขาธรณีวิทยา, ฟิสิกส์, ดาราศาสตร์, ชีววิทยา รวมจำนวน 11 โครงการ
1.2) แบบมุ่งเป้า (พ.ศ. 2556-2561)
แบ่งเป็น สาขาพลังงานทดแทน (ปีงบประมาณ 2556-2561) จำนวน 23 โครงการ และ สาขา Future Earth (ปีงบประมาณ 2559) จำนวน 5 โครงการ
2) การสัมมนา/ประชุมทางวิชาการ
สัมมนาร่วมไทย-จีน ด้านพลังงานทดแทน จำนวน 9 ครั้ง
สัมมนาร่วมไทย-จีน ด้าน Future Earth จำนวน 2 ครั้ง
2. Science and Technology Department of Hainan Province (STDHP)การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ใน พ.ศ. 2540 (1997)
3. Chinese Academy of Social Sciences (CASS)การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ใน พ.ศ. 2543 (2000) สาขาความร่วมมือ รวม 14 สาขา ดังนี้ Anthropology, Archaeology, Economics, International Studies, Linguistics, Philosophy, Religion, Nationality Studies, Demography, History, Law, Literature, Politics, Sociology
แนวทางความร่วมมือ (กิจกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือ) มี 5 ลักษณะ ดังนี้
1. การแลกเปลี่ยนนักวิจัย ผู้บริหาร กลุ่มและคณะผู้แทนการศึกษาวิจัย ในโควตา 3 คน/เดือน/ปี
2. การทำวิจัยร่วมระหว่างนักวิจัยไทยและนักวิจัยจีน
3. การสัมมนาร่วม
4. การแลกเปลี่ยนสิ่งตีพิมพ์ และข้อมูลวิจัยการประชุมประจำปีระหว่าง สำนักงานฯ และ CASS
4. Shaanxi Academy of Social Sciences (SASS)การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ใน พ.ศ. 2549 (2006)
5. Huaqiao University (HQU)การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ใน พ.ศ. 2553 (2010) โดยมีจุดประสงค์หลักในการร่วมพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเด็น ไทย-จีน
โดยรูปแบบความร่วมมือภายใต้กรอบข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ แบ่งเป็น 6 กิจกรรม ดังนี้
1. การทำวิจัยร่วม
2. การประชุมสัมมนาทางวิชาการ
3. การแลกเปลี่ยนข้อมูล
4. การแลกเปลี่ยนนักวิจัย ภายใต้กิจกรรม 1 และ 2
5. การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม
6. รูปแบบอื่นๆ ตามที่เห็นพ้องร่วมกัน
ถึงปัจจุบันมีการสัมมนารวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง (ปีงบประมาณ 2555-2561)
13. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)1. Kunming Institute of Botanyการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) (เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 – ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดจะแจ้งยกเลิก)
2. Southwest Forestry Universityการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) (เมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 – ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดจะแจ้งยกเลิก)
3. National Natural Science Foundation of China (NSFC)การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระยะเวลา 5 ปี (เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 – ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดจะแจ้งยกเลิก)
4. Chinese Academy of Sciences (CAS)การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระยะเวลา 5 ปี (เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 – ธันวาคม 2562)
5. Rubber Valley Group Co., Ltd.การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระยะเวลา 5 ปี (เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 – ธันวาคม 2564)

* คือ หน่วยงานซึ่งไม่ได้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานะ วันที่ 17 เมษายน 2563
ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง