• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • #ซินเจียง #ชาวอุยกูร์ #นักแสดงชาวอุยกูร์ ชาวอังกฤษใช้ชีวิตในจีน 10 ปี ไปพิสูจน์…

#ซินเจียง #ชาวอุยกูร์ #นักแสดงชาวอุยกูร์ ชาวอังกฤษใช้ชีวิตในจีน 10 ปี ไปพิสูจน์…

#ซินเจียง #ชาวอุยกูร์ #นักแสดงชาวอุยกูร์
ชาวอังกฤษใช้ชีวิตในจีน 10 ปี ไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ซินเจียงแล้วแฉให้ชาวโลกรู้

นายเจสัน ไลท์ฟูต (Jason Lightfoot)บล็อกเกอร์ชาวอังกฤษ ใช้ชีวิตในจีน 10 ปี เมื่อเห็นสื่อตะวันตกนำภาพถ่ายดาวเทียมมาเผยแพร่โดยระบุว่านี่เป็นหลักฐาน “ค่ายกักกัน” เขาก็เลยตัดสินใจเดินทางไปเขตปกครองตนเองอุยกูร์ซินเจียงเพื่อพิสูจน์ให้เห็นกะตา ปรากฏว่า สถานที่ที่ถูกระบุว่าเป็นค่ายกักกันนั้น ที่แท้เป็นแค่ บ้านพักคนงานของไซต์งานก่อสร้างแห่งหนึ่งเท่านั้น

นายเจสัน ไลท์ฟูตกล่าวว่า ซินเจียงมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล เมื่อมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ จะมีการสร้างบ้านพักคนงานในบริเวณใกล้ๆกับสถานที่ก่อสร้าง หากจะกล่าวหาว่าบ้านพักชั่วคราวเหล่านี้เป็น “ค่ายกักกัน”หรือ “เรือนจำ” นักโทษที่อยู่ในนี้ก็คงจะหนีออกไปไหนๆได้ง่ายมาก

สิ่งที่นายเจสัน ไลท์ฟูตหยิบยกมาพูดนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของข้อมูลปลอมเกี่ยวกับซินเจียงที่มาจากโรงงานผลิตข่าวปลอมตะวันตก

ปีหลังๆ นี้ สถาบันวิจัยและนักวิจัยจากสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ได้ประกาศ “รายการข้อมูลซินเจียง” “คลังข้อมูลผู้ถูกทำร้ายในซินเจียง”และ “คลังข้อมูลเฉพาะกาลอุยกูร์” ข้อมูลเหล่านี้ถูกสื่อตะวันตกเอาไปเผยแพร่ทั่วโลกอย่างกว้างขวาง

ทางการซินเจียงให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้อย่างมาก โดยเอารายชื่อไปตรวจสอบเทียบเคียงอย่างละเอียด ปรากฏว่า “สถานที่กักขัง” 380 แห่งที่ระบุในคลังข้อมูลดังกล่าวนั้น มี 343 แห่งเป็นโรงเรียน หน่วยงานรัฐบาล โรงพยาบาล ร้านค้าและอาคารที่พัก ส่วนบุคคลจำนวน 12,050 คนนั้น มี 10,708 คนเป็นชื่อจริง 1,342 คนเป็นชื่อที่ปั้นแต่งขึ้นมา และในจำนวน 10,708 คนที่เป็นชื่อจริงที่ตรวจสอบได้นั้น มี6,962 คนใช้ชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม มี 3,244 คนถูกตัดสินจำคุกในข้อหาก่อการร้ายและความผิดทางอาญาอื่น ๆ มี 238 คนป่วยเสียชีวิต อีก 264 อยู่ในต่างประเทศ

คงไม่ต้องแปลกใจกับข้อมูลปลอมเหล่านี้ การค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่า สถาบันวิจัยเช่นสถาบันวิจัยนโยบายและยุทธศาสตร์ออสเตรเลีย(Australian Strategic Policy Institute)และนักวิจัยที่ทำข้อมูลดังกล่าว ล้วนได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ออสเตรเลีย กองทุนแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติหรือ NED (The National Endowment for Democracy) และได้รับความร่วมมือจากชาวอุยกูร์ในต่างประเทศ ที่เป็นสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายองค์การเตอร์กิสถานตะวันออกและสมาชิกกลุ่มแบ่งแยกซินเจียง

สถาบันวิจัย นักวิจัยและชาวอุยกูร์ในต่างประเทศดังกล่าวเป็นบุคลากรสำคัญของโรงงานผลิตข่าวปลอมตะวันตก

สื่อตะวันตก อย่างเช่น BBC ชอบใช้ “ตากล้องนรก” ในการสัมภาษณ์ชาวอุยกูร์ในต่างประเทศ ผู้ที่ให้สัมภาษณ์มักจะใส่เสื้อสีเทาหรือสีดำ เล่าเรื่องด้วยสีหน้าเศร้าหรือร้องไห้ ชาวซินเจียงคนหนึ่งเห็นบ่อยเข้าแล้วอดไม่ไหว จึงทวีตทางทวิตเตอร์ว่า “ซินเจียงของเราไม่มีสงคราม เราใช้ชีวิตในสังคมที่ปลอดภัย ไม่ต้องห่วงว่าจะถูกทำร้ายไม่ว่าจะเป็นบนท้องถนนหรือโรงเรียน ผมเห็นว่า เราไม่ต้องการความช่วยเหลือจากตะวันตก และหวังให้พี่น้องชาวอุยกูร์ในต่างประเทศอย่าไปคัดค้านและขอความช่วยเหลืออีก การแสดงของพวกคุณน่าขำจริงๆ”

ลิงค์ 2 ลิงค์ข้างล่างนี้ เป็นวิดีโดสารคดีเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของชาวซินเจียงในปัจจุบัน ความยาว 80 นาที หวังว่าคุณจะสนุกกับการชมสารคดีเรื่องนี้ นี่แหละซินเจียงของแท้

http://tv.cctv.com/2021/04/16/VIDEPE4F6UFKIriuJ0Q7XWf6210416.shtml

https://www.ixigua.com/6951549881580257803








ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
ลึกชัดกับผิงผิง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]