สถิติการค้าของนครฉงชิ่ง เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564

กรมศุลกากรนครฉงชิ่ง เปิดเผยข้อมูลสถิติการค้าเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 ว่า นครฉงชิ่งมีมูลค่าการนำเข้าส่งออก 116,170 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.3 แบ่งเป็นมูลค่าการนำเข้า 43,910 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.6 มูลค่าการส่งออก 72,260 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.8 โดยมีรายละเอียดแบ่ง ดังนี้

มูลค่าการนำเข้าส่งออกแบ่งตามประเภทสินค้า

ประเภทสินค้า

มูลค่าการนำเข้าส่งออก (ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้น (ร้อยละ)

สินค้าทั่วไป 41,400 35.6
สินค้าแปรรูป 51,200 65.9
สินค้าปลอดภาษี 23,110 35.7

 

มูลค่าการนำเข้าส่งออกผ่านบริษัทประเภทต่าง ๆ

ประเภทของบริษัท

มูลค่าการนำเข้าส่งออก (ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้น (ร้อยละ)

บริษัทจากต่างประเทศ 57,180 53.7
บริษัทเอกชน 48,760 42
รัฐวิสาหกิจ 10,110 32.4

 

มูลค่าการนำเข้าส่งออกแบ่งตามพื้นที่

สหภาพ/สมาคม/ประเทศ

มูลค่าการนำเข้าส่งออก (ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้น

ประเทศตามเส้นทาง BRI 31,580 ร้อยละ 52.6
อาเซียน 18,820 ร้อยละ 37.8
สหภาพยุโรป 17,760  ร้อยละ 80.5
สหรัฐอเมริกา 16,470 1.2 เท่า
ไต้หวัน 10,340 1.1 เท่า

 

สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด

ประเภทสินค้า

มูลค่าการส่งออก (ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้น

คอมพิวเตอร์

28,210

1.2 เท่า

โทรศัพท์

4,410

6.2 เท่า

มอเตอร์ไซค์

2,410

ร้อยละ 58

รถยนต์

1,430

ร้อยละ 29.9

 

ประเภทสินค้าที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด

ประเภทสินค้า

มูลค่าการนำเข้าส่งออก (ล้านหยวน)

เพิ่มขึ้น

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

17,540

(ร้อยละ) 23.8

แร่โลหะ

3,830

1.3 เท่า

อุปกรณ์  (Semiconductor)

2,780

76.2 เท่า

 

กรมศุลกากรนครฉงชิ่งวิเคราะห์ว่ามูลค่าการนำเข้าส่งออกมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก (1) การฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยใน 2 เดือนแรกของปี 2564 มูลค่าการส่งออกไปสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.5 และ 1.5 เท่าตามลำดับ (2) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ตัวเลขมูลค่าการนำเข้าส่งออกในเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 ลดลงร้อยละ 18.3 ส่งผลให้ปี 2564 ตัวเลขมูลค่าการนำเข้าส่งออกสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด

เมื่อปี 2563 นครฉงชิ่งมีมูลค่า GDP รวม 2.5 ล้านล้านหยวน จัดเป็นนคร/เมืองที่มีมูลค่า GDP สูงเป็นอันดับที่ 5 ของจีนรองจากนครเซี่ยงไฮ้ กรุงปักกิ่ง เมืองเซินเจิ้น และนครกว่างโจว อีกทั้งยังได้รับการรับรองจากธนาคารโลกด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของนครฉงชิ่งนับเป็นโอกาสดีสำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะธุรกิจการนำเข้าส่งออก โดยอาศัยความได้เปรียบด้านโลจิสติกส์ของนครฉงชิ่ง ซึ่งใกล้ไทยและมีเส้นทางการขนส่งทั้งทางอากาศ ทางเรือ และทางบก

 

 

แหล่งที่มา Chongqing Customs District P.R.CHINA (17 มี.ค. 2564)
http://xiamen.customs.gov.cn/chongqing_customs/515855/515856/3580294/index.html

 

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]