• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ถอดบทเรียนธุรกิจจีน: “ร้านหนังสือจีน ปรับตัวอย่างไร? จึงเติบโตสวนกระแส Digital D…

ถอดบทเรียนธุรกิจจีน: “ร้านหนังสือจีน ปรับตัวอย่างไร? จึงเติบโตสวนกระแส Digital D…

ถอดบทเรียนธุรกิจจีน: “ร้านหนังสือจีน ปรับตัวอย่างไร? จึงเติบโตสวนกระแส Digital Disruption

—–

ตั้งแต่เกิดวิกฤติแพร่ระบาดCOVID-19 เราได้ยินคำว่า Digital Disruptionกันหนาหูมากขึ้น โดยดฉพาะการทำนายว่าธุรกิจอะไรบ้างจะล้มหายตายจาก ซึ่ง ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และร้านหนังสือ มักอยู่ในListลำดับต้นๆของธุรกิจที่จะถูกแทนที่ด้วยDigital

แต่ทุกคนรู้ไหมครับ “ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และร้านหนังสือในประเทศจีน เติบโตอย่างต่อเนื่อง สวนกระแสDigital disruptionทั่วโลก”

วันนี้ผมขอเล่าถึงเคสการปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านหนังสือ ที่ทำให้ธุรกิจร้านหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์จีนมีการเติบโตสวนทางยุคDisruption ที่ส่วนใหญ่ธุรกิจแนวนี้ทั่วโลกประสบปัญหาต้องล้มหายตายจากกันไปรวมถึงในไทย

—–

โดยคีย์หนึ่งของธุรกิจร้านหนังสือในจีนที่ทำให้สำเร็จไม่แค่อยู่รอด แต่ยังเติบโตกว่าเดิมด้วย คือ

“การ Transform และ cross industry กับหลายๆสิ่งที่ไม่ใช่แค่หนังสือ ”

หากเรานึกภาพร้านหนังสือในสมัยก่อน
เราคงนึกถึงแค่ร้านที่มีแต่หนังสือเต็มไปหมด มาซื้อแล้วก็เอากลับไปอ่านที่บ้าน
บางทียืนอ่านหรือหาที่หลบมุมอ่านยังเป็นเรื่องต้องห้าม ที่เรามักจะหลบๆทำ

..แต่พอยุคสมัยเปลี่ยน ก็มาถึงยุคที่เราต้องทำให้ร้านหนังสือไม่ใช่แค่ร้านหนังสือ โดยต้องตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าให้ได้ว่า

“ทำไมมาที่ร้านหนังสือ ถ้ามันมีแค่หนังสือ เขาก็ซื้อหรืออ่านออนไลน์เอาก็ได้”

พอเราปรับดีไซน์ร้านหนังสือให้น่าเข้า ให้กลายเป็นพื้นที่ของการมาหาแรงบันดาลใจ หรือที่พักผ่อน ที่เขามาที่นี่ ไม่ใช่แค่ได้หนังสือกลับไป หากทว่ายังได้สินค้าอื่นติดไม้ติดมือไปได้ด้วย

บอกเลยว่าร้านหนังสือในจีนยังมีการพัฒนาให้ก้าวข้ามคำว่า “แค่ร้านหนังสือ” มีการตกแต่ง จัดวางร้านให้ดูน่าเข้า และมีกิมมิคจนเป็นกระแสสังคมอยู่บ่อยครั้ง

—–

ถ้าสังเกตให้ดี สินค้าบางอย่างเราอาจมองเผินๆว่า ไม่น่าเกี่ยวข้องกับร้านหนังสือ

แต่มองให้ลึก สิ่งที่วางขาย “มันคือสิ่งที่คนอ่านหนังสือมักจะซื้อ” เช่น แผ่นเพลง, อุปกรณ์ไอที, เครื่องเขียน, แก้วน้ำ หรือแม้กระทั่งของเล่นเด็ก

ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, พื้นที่นั่งอ่านหนังสือพร้อมพื้นที่คุยงานเล็กๆที่พร้อมด้วยปลั๊กไฟ

“เราอาจจะนึกไม่ออกเลยว่า จะมีอยู่ในร้านหนังสือได้หรอ?” แต่ปัจจุบันมีแล้ว!!!

และบางที่ยัง beyondไปจากเดิม ยังทำให้เป็นเหมือน “ห้างเล็กๆ ที่มีหนังสือเป็นตัวชูโรง”
สามารถทำทุกอย่างได้หมด อยู่ได้ทั้งวัน ทั้งอ่านหนังสือ กินข้าว ฟังสัมมนา ดูงานศิลปะ จะเข้าห้องน้ำ ก็ไม่ต้องออกไปโซนอื่น อยู่ในร้านหนังสือนี่ล่ะครับ

ที่กล่าวมาข้างต้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในจีน

—–

โดยผลลัพธ์ที่ออกมาทำให้ธุรกิจร้านหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ในจีนเติบโตเฉลี่ยปีละมากกว่า 10% โดยสองสามปีที่ผ่านมากลายเป็นเทรนด์ “แข่งกันเปิดร้านหนังสือดีไซน์สวยและยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่ร้านเล็กๆ1ชั้น แคบๆแบบที่ผ่านมา” ที่มักเป็นกระแสโซเชียลจีนอยู่ตลอด

“คนจีนยุคใหม่ พากันไปพักผ่อน และเที่ยววันหยุด ณ ร้านหนังสือ แทนการไปสถานที่ท่องเที่ยว หรือแค่เดินตากแอร์ในห้างสรรพสินค้า” เป็นอีกหนึ่งผลสะท้อนหนึ่งที่ทำให้เราได้เห็นการ Transformของร้านหนังสือจีนได้เป็นอย่างดี

—–

ตอนนี้ที่ไทย ก็เริ่มมีร้านหนังสือบางแห่งทำคล้ายๆที่จีนเหมือนกัน อย่างเช่น ที่ Think Space B2S ที่ Central Festival EastVille ลองดูรูปที่อ้ายจงนำมาฝากได้เลย อ้ายจงถ่ายเมื่อปลายปีที่แล้ว (2019) ครับ

สำหรับผม “ยุค Digital Disruption” ที่หลายคนกลัว มันไม่น่ากลัวอย่างที่คิดครับ ขอแค่เรากล้าที่จะคิดนอกกรอบ-ใช้จินตนาการและใช้ความรู้-ทักษะที่เรามี มาผสานกันให้เป็น

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #ธุรกิจจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]