• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ชีวิตในจีน: เมื่อประเทศจีนต้องต่อสู้กับปัญหา “คนรุ่นใหม่หลงลืมความกตัญญู-ละทิ้ง …

ชีวิตในจีน: เมื่อประเทศจีนต้องต่อสู้กับปัญหา “คนรุ่นใหม่หลงลืมความกตัญญู-ละทิ้ง …

ชีวิตในจีน: เมื่อประเทศจีนต้องต่อสู้กับปัญหา “คนรุ่นใหม่หลงลืมความกตัญญู-ละทิ้ง ไม่เลี้ยงดูพ่อแม่”

—–

“เห็นภาพนี้แล้วรู้สึกอย่างไรบ้างครับ”

ภาพที่ทุกคนเห็นเป็น ภาพที่อ้ายจงกดชัตเตอร์จากหนังสือพิมพ์ China Daily ฉบับวันที่ 25ตุลาคม 2556 สมัยที่อ้ายจงอยู่จีน และอ้ายจงยังคงเก็บภาพนี้ไว้จนถึงทุกวันนี้ เพื่อเตือนสติตนเอง

อ้ายจงเชื่อว่าทุกคนต้องคิดถึงพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ที่รักเราและเรารักเขา…อย่างแน่นอน…โดยเฉพาะคนที่อยู่ไกลบ้าน

หากใครที่ตอนนี้อยู่ใกล้ท่าน ดูแลท่านให้ดีๆนะครับ ใครที่อยู่ไกลก็หาโอกาสกลับไปเยี่ยมท่านบ้าง อ้ายจงเชื่อว่าท่านอยากเห็นหน้าพวกเรามากกว่าเงินหรือสิ่งของที่เราส่งให้ท่าน

.

สำหรับเมืองจีน เรื่องความกตัญญูรู้คุณ เป็นสิ่งที่ปลูกฝังมาอย่างยาวนาน แต่ช่วงหลังมานี้ มักมีปัญหาผู้สูงอายุถูกลูกหลานทอดทิ้งจำนวนมาก

รัฐบาลจีนจึงออกกฏหมาย”กตัญญู” เพื่อกำหนดให้ลูกที่อยู่ไกลบ้าน ต้องกลับไปเยี่ยมพ่อแม่บ่อยๆ โดยเปิดช่องให้พ่อแม่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย(ค่าดูแล) จากลูกได้ หากลูกไม่กลับไปเยี่ยม ซึ่งคำว่าบ่อยๆนั้น ตาม กฏหมายไม่ได้ระบุไว้ว่าบ่อยขนาดไหน แต่อ้ายจงคิดว่า หมายถึงการกลับไปเยี่ยมตามที่เป็นไปได้ เช่น เทศกาลหยุดยาววันชาติ วันแรงงาน เป็นต้น โดยเริ่มใช้กฏหมายนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ก็เป็นเวลามากกว่า 6ปีแล้วที่มีกฎหมายนี้บังคับใช้ในจีน

.

นอกจากการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ไม่หลงลืมคำว่า “กตัญญู” ต่อพ่อแม่ ทางการจีนยังได้ใช้ Soft power ปลูกฝัง “ความกตัญญู” และตัวอย่างที่ดีในการดูแลพ่อแม่ ผ่านทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะสื่อหลัก สื่อรองในจีน (สื่อในจีน อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน) เราจึงได้เห็นเรื่องราวที่เป็นกระแสสังคมเกี่ยวกับการกตัญญู-เลี้ยงดูพ่อแม่อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งรูปที่ผมใช้ประกอบบทความนี้ก็เป็นหนึ่งในการรณรงค์-ปลูกฝังความกตัญญูผ่านสื่อ กระตุ้นให้คนจีนไม่หลงลืมพ่อแม่ ผู้ใหญ่ในบ้าน

โดยการปลูกฝังผ่านสื่อ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้คนจีนรู้สึกว่า การกตัญญู-เลี้ยงดูพ่อแม่ คือสิ่งที่ดีงาม ได้รับการชื่นชม และเป็นสิ่งที่ควรทำ

อย่างเช่น หนังแอนนิเมชั่น Ne Zha นาจา ที่ทำรายได้ถล่มทลาย 4,900ล้านหยวน (ราว 25,000ล้านบาท) ขึ้นแท่นหนังแอนนิเมชั่นทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในจีน และเข้ามาฉายในไทยเมื่อปลายปี2562ที่ผ่านมา ก็เป็นหนังที่มีโครงเรื่องหลักเกี่ยวกับ “ความกตัญญูต่อพ่อแม่” เช่นกัน

.

นอกจากนี้ การยกเลิก “นโยบายลูกคนเดียว” และอนุญาตให้มีลูกคนที่2ได้ ตามนโยบายใหม่ Two Child policy ที่เริ่มใช้ในปี2559 ก็ถือว่า เป็น1ในมาตรการที่จีนแก้ปัญหา พ่อแม่ถูกลูกทอดทิ้ง

โดยประเทศจีนออกนโยบายลูกคนเดียวมาตั้งแต่ 2523 เพื่อควบคุมจำนวนประชากร แต่ หลายปีมานี้ ประชาชนเริ่มต่อต้านอยากให้ยกเลิกนโยบายนี้ เพราะตอนนี้เด็กที่เป็นลูกคนเดียวเริ่มมีปัญหา ต้องเลี้ยงดูทั้งพ่อแม่ และอาจรวมถึงปู่ย่าตายายในอนาคต แม้จีนจะออกนโยบายลูกต้องกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ มิเช่นนั่นต้องเสียค่าปรับหรือติดคุก แต่ก็ยังกลัวปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง เพราะภาระที่ลูกคนเดียวอาจแบกไม่ไหว
จีนจึงเริ่มผ่อนปรนให้บางพื้นที่มีลูกคนที่2ได้ และเริ่มนโยบายให้มีลูก2คนได้ตั้งแต่ปี2559เป็นต้นมา

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]