• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • สงกรานต์ปีนี้ ไม่ได้มีแค่ไทยที่ยกเลิก แต่ที่ประเทศจีน งานสงกรานต์ในสิบสองปันนา, …

สงกรานต์ปีนี้ ไม่ได้มีแค่ไทยที่ยกเลิก แต่ที่ประเทศจีน งานสงกรานต์ในสิบสองปันนา, …

สงกรานต์ปีนี้ ไม่ได้มีแค่ไทยที่ยกเลิก แต่ที่ประเทศจีน งานสงกรานต์ในสิบสองปันนา, เต๋อหง, ผูเอ่อ และเมืองอื่นๆที่มีสงกรานต์ของชาวไต (ไทลื้อ) ก็ยกเลิก และให้เป็นวันทำงานปกติ ตามมาตรการป้องกันและควบคุมแพร่ระบาดCOVID-19

——

ถ้าปีนี้2563 ไม่มีวิกฤติแพร่ระบาดCOVID-19 เชื่อเหลือเกินว่าคงมีคนเริ่มทยอยเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อเที่ยว-รวมตัวกับครอบครัวช่วงเทศกาลสงกรานต์-ปีใหม่ไทย 13เมษายน แต่ปีนี้เราต้องหยุดพักเทศกาลสงกรานต์กันก่อน เหมือนกับตรุษจีนหรือปีใหม่ของจีนเมื่อช่วงปลายมกราคม ที่คนจีนก็ไม่ได้ฉลองเทศกาลนี้เพราะ COVID-19เช่นกัน

ทุกคนรู้ไหมครับว่า “สงกรานต์ปีนี้ ไม่ได้มีแค่ที่ไทยที่ยกเลิกการฉลองเทศกาลนี้ แต่ในจีนเองก็เช่นกันนะ”

อ้าววว งงกันเลยล่ะสิว่า “จีนมีเทศกาลสงกรานต์ด้วยหรือ?”

สงกรานต์ ไม่ได้มีแค่ในไทย หากแต่แถบเอเซียอาคเนย์ หลายพื้นที่ในแถบนี้ เช่น ลาว พม่า กัมพูชา ก็มีเทศกาลสงกรานต์เช่นกัน รวมถึงบางพื้นที่ในประเทศจีน โดยเฉพาะพื้นที่ของกลุ่มชนชาติไตเมืองเต๋อหง และเมืองจิ่งหง(เชียงรุ่ง) มณฑลหยุนหนาน

ในประเทศจีน ชาวไต หรือไทลื้อ ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในบรรดา 56 กลุ่ม โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่หลักๆ 2 เมือง ได้แก่

1) เขตปกครองตนเองชนชาติไต เมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน

2) เขตปกครองตนเองชนชาติไตและคะฉิ่น เมืองเต๋อหง มณฑลยูนนาน

ชาวไต ยึดถือประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีสำคัญ และถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไต เช่นเดียวกับสงกรานต์ของไทย รวมถึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการด้วย

โดยจะมีแตกต่างกันอยู่บ้างในรายละเอียดของพิธีกรรมและความเชื่อ เช่น อย่างที่ 西双版纳 สิบสองปันนา จะมีการแข่งขันเรือมังกรที่แม่น้ำหลานชาง หรือล้านช้าง แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านในประเทศจีน และยังมีการปล่อยโคมตอนกลางคืนของวันสงกรานต์ (13 เมษายน) เพื่อขอพรจากฟากฟ้า เป็นการฉลองปีใหม่ โดยโคมมีชื่อเรียกว่า โคมข่งหมิง หรือโคมขงเบ้ง

ถ้าเป็นเมืองไทย เรามักจะเห็นการปล่อยโคมลอยในช่วงลอยกระทงเสียมากกว่า แต่ในพิธีกรรมอื่นๆ เช่น ทำบุญ สรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย รดน้ำดำหัว มีลักษณะคล้ายกับไทยเรา

คนจีนเรียกเทศกาลสงกรานต์อย่างไร?

-เทศกาลสงกรานต์ คนจีนทั่วไปจะเรียกว่า 泼水节 โพสุ่ยเจี๋ย ที่แปลว่าเทศกาลสาดน้ำ

-ถ้าหากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไตในเมืองเต๋อหง จะเรียกว่า 摆栓南 ป่ายซวนหนาน หรือ 摆赏建 ไป๋ส่างเจี้ยน

-ส่วนกลุ่มชาติพันธ์ุ “เต๋ออ๋าง” ชนเผ่าหนึ่งในเมืองเต๋อหงและกระจายไปหลายพื้นที่ในมณฑลหยุนหนาน เรียกว่า 浇花节 เจียวฮวาเจี๋ย ที่เมืองไทยก็มีชนกลุ่มน้อย เต๋ออ๋าง โดยเรียกว่า ชนกลุ่มน้อย “ปะหล่อง”

– สำหรับสงกรานต์ของชาวไทย คนจีนจะเรียก 宋干节 ซ่งกานเจี๋ย ที่ออกเสียงคล้ายกับ สงกรานต์ นั่นเอง

—–

สงกรานต์ของชาวไตในจีน ที่มีชื่อเสียงระดับชาติและนานาชาติ มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่

– เทศกาลสงกรานต์ชนชาติไต อำเภอจิ่งหง หรือเชียงรุ่ง เมืองสิบสองปันนา

– และ เทศกาลสงกรานต์นานาชาติอำเภอหมาง เมืองเต๋อหง

ทั้ง 2แห่ง ในแต่ละปีจะมีชาวไตในจีน ชาวพม่า ชาวลาว ชาวไทย ตลอดจนชาวจีนและชาวต่างประเทศ นับหมื่นคน เข้าร่วมสาดน้ำสงกรานต์ และยามค่ำคืน จะมีงานรื่นเริง บางพื้นที่จะมีการปล่อยโคมลอยเต็มท้องฟ้าในคืนสงกรานต์ เช่นที่ เมืองจิ่งหง (เชียงรุ่ง) เขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา

นอกจาก ที่จิ่งหง เมืองสิบสองปันนา และ ที่เต๋อหง ชาวชนชาติไตในจีน ที่อยู่เมืองอืน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลหยุนหนาน ก็มีเทศกาลสงกรานต์แต่อาจไม่ได้จัดยิ่งใหญ่เหมือน 2ที่ (จิ่งหง สิบสองปันนาและเต๋อหง)

อย่างเช่น ชาวไต ในอำเภอจิ๋งกู่ เขตปกครองตนเองชนชาติไตและอี๋เมืองผูเอ่อ มณฑลหยุนหนาน

โดยปกติเทศกาลสงกรานต์ของคนที่นี่ จะมีระหว่าง 13 -15 เมษายน กิจกรรมมีทั้ง สาดน้ำสงกรานต์, สรงน้ำพระ และก่อเจดีย์ทราย

อำเภอจิ๋งกู่ เป็นหนึ่งในหลายเมืองของชนชาติไตในมณฑลหยุนหนานที่จัดเทศกาลสงกรานต์-สาดน้ำขึ้นทุกปี

น่าเสียดายที่ปีนี้ สงกรานต์ในจีน ทั้งที่สิบสองปันนา เต๋อหง,จิ๋งกู่ รวมถึงเมืองอื่นๆที่มีคนชนชาติไต ได้ยกเลิกทั้งจัดงานและให้ชาวเมืองทำงานปกติ ไม่ถือว่าเป็นวันหยุดราชการดังเช่นทุกปีด้วย อันเนื่องมาจากต้องการป้องกันการระบาดCOVID-19

แต่ไม่เป็นไรเนอะ ดูภาพบรรยากาศในบทความนี้ ที่อ้ายจงนำมาฝากได้เลย แล้วปีหน้าเราค่อยฉลองกัน

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน





ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]