• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • #ชีวิตในจีน เปิดเรื่องราว “ทำไมคนจีนนับล้าน เลือกที่จะไม่กลับบ้านเกิดในเทศกาลตรุ…

#ชีวิตในจีน เปิดเรื่องราว “ทำไมคนจีนนับล้าน เลือกที่จะไม่กลับบ้านเกิดในเทศกาลตรุ…

#ชีวิตในจีน เปิดเรื่องราว “ทำไมคนจีนนับล้าน เลือกที่จะไม่กลับบ้านเกิดในเทศกาลตรุษจีน” ผ่านปากคนจีน 3คน 3อาชีพ ที่ตรุษจีนเป็นเพียงวันธรรมดา วันทำงานของพวกเขา

ตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงเทศกาล “ตรุษจีน” เทศกาลที่คนจีนเดินทางกลับบ้านเกิดจำนวนมากที่สุดของปี แต่ก็ยังมีคนจีนนับล้าน เลือกที่จะทำงานแทนการเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนในช่วงวันหยุดยาวนี้

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ คิดว่าหลายคนคงจะมีประโยคหนึ่งผุดขึ้นมาในห้วงความคิดว่า “ก็คงไม่ต่างจากที่ไทย หรือประเทศไหนๆ ในช่วงเทศกาล ที่คงเป็นไปไม่ได้ ที่จะหยุดงานพร้อมกันหมดทั้งประเทศ” แต่เดี๋ยวก่อนครับ ลองลบความคิดชั่วครู่ทิ้งไป แล้วลองมาท่องโลกเมืองจีน รู้จักชีวิตคนจีน ผ่านเรื่องราวของ คนจีน 3คน 3อาชีพ ว่า “ทำไมเขาถึงเลือกที่จะไม่กลับบ้านในช่วงตรุษจีน” กันครับ

—————————————————————-

1. หวัง จุนเฉียง พนักงานส่งอาหาร เป็นหนึ่งในบรรดาคนทำงานต่างถิ่นที่เลือกที่จะทำงาน มากกว่ากลับบ้านไปพบปะญาติพี่น้องและครอบครัวเหมือนอีกหลายล้านคน กำลังง่วนอยู่กับการเช็คโทรศัพท์มือถือ เพื่อรอรับออเดอร์ที่จะต้องไปส่ง

นายหวัง เล่าให้สื่อจีน South China Morning Post ฟังด้วยความตื่นเต้นว่า “เงินโบนัสพิเศษสำหรับพนักงานที่ทำงานในช่วงเทศกาลตรุษจีนมากถึง 1,000 หยวน หรือประมาณ 5,000 บาท” และถ้าหากว่าคุณเดินทางกลับมาทำงานเร็วขึ้นในช่วงวันที่ 5 ของเทศกาลตรุษจีนนี้ ก็ยังมีเงินพิเศษเพิ่มให้อีก 700 หยวน หรือประมาณ 3,000 บาท แม้ว่า ปัจจุบันจะมีพนักงานส่งอาหารที่มากเกินไปในธุรกิจนี้ ทำให้รอบการส่งอาหารของแต่ละคนไม่ได้มีมากมาย และลูกค้าหลักที่เคยสั่งเช่น กลุ่มคนทำงาน หรือนักเรียนนักศึกษา ได้เดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเช่นกัน

นายหวัง ยังกล่าวอีกว่า “ปีที่แล้วเขาสามารถทำเงินได้สูงถึง 10,000 หยวน หรือประมาณ 50,000 บาทต่อเดือน ในช่วงเดียวกันนี้”·

“ผมไม่ได้รู้สึกอะไรมากมายถ้าจะต้องฉลองเทศกาลตรุษจีนที่นี่ เพราะภรรยาของผมก็ทำงานอยู่ที่นี่ ส่วนเด็กๆก็ไปเรียนที่โรงเรียนแถวนี้ มันจะสะดวกกว่าถ้าหากจะเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเวลาอื่น เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับการจองตั๋วรถไฟเพื่อเดินทางกลับบ้านในช่วงตรุษจีนนี้ ” นายหวังกล่าว

2. สำหรับ นางลู่ เสียวเหม่ย พนักงานทำความสะอาด วัย 53 ปี และสามีที่มีอาชีพเดียวกัน มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองฉงชิ่ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน บอกว่า

“ฉันไม่มีปัญหาอะไรเลยหากจะได้กลับบ้านในช่วงเวลาอื่น และแม้ว่าจะไม่ได้รับเงินพิเศษใดๆ จากการทำงานในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะยังไงก็ต้องมีคนที่ต้องทำงานในช่วงเวลานี้อยู่แล้ว ”

3. แมกกี้ หลู่ อาชีพช่างทำผมวัย 28 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองอูหลู่มู่ฉี เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าแน่นร้านตลอดเวลา เพื่อมาเสริมหล่อเสริมสวยทำให้ตัวเองให้ดูดีที่สุดในช่วงเวลาพบเจอญาติๆ

แมกกี้ เตรียมวางแผนการท่องเที่ยวหลังจากเทศกาลตรุษจีนกับเพื่อนๆที่ไม่ได้กลับบ้านเช่นกัน เพราะช่วงนี้ทุกคนต่างก็ต้องการตัดผมทรงใหม่ เป็นการต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง โดยลูกค้าจะเริ่มแน่นในช่วงเดือนก่อนเทศกาลตรุษจีนเรื่อยมา

แมกกี้เล่าว่า “ที่บ้านเกิด ฉันหาเงินได้แค่ 3,000-4,000 หยวน หรือประมาณ 15,000-20,000 บาทต่อเดือน แต่ที่เซี่ยงไฮ้ฉันสามารถหาเงินได้มากกว่าเป็นสองเท่า และถ้ายิ่งขยันมากเท่าไร ก็จะสามารถหาเงินได้มากขึ้น ”

——————————————————————————–

ศาตราจารย์ เจิ้ง เฟิงเถียน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเหรินหมิน ( Renmin University ) ·กรุงปักกิ่ง ผู้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน กล่าวถึงมุมมองทางธุรกิจว่า

“มันจะเป็นหายนะสำหรับชีวิตคนในเมือง หากแรงงานทั้งหมดเดินทางกลับบ้านในช่วงนี้ ร้านอาหาร ภัตตาคารจะปิดหมด ไม่มีแม้กระทั่งคนดูแลเด็กเล็ก ที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงของงาน แม้ว่าคุณจะทำงานเป็นคนเรียงขนมบนชั้นวาง ซึ่งคุณอาจจะสูญเสียงานให้กับคนแปลกหน้าก็ได้ หลังจากกลับมาจากช่วงเทศกาลหยุดยาว ”

ที่มา: http://www.scmp.com/news/china/society/article/2132704/why-millions-china-wont-return-home-lunar-new-year-holiday

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ตรุษจีน2018 #HumanOfChina #LifeinChina #LiveinChina





ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]