วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน เมษายน 2565

วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนเมษายน 2565
“สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences: CAS)”

การวิจัย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาในทุกด้าน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผลงานวิจัยจะทำให้ทราบข้อเท็จจริง ค้นพบทฤษฎี นวัตกรรม และนำไปประยุกต์ใช้ ที่จะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี สังคมที่พึ่งพาตนเองได้ มีความสุข มีความสงบ มีความยั่งยืน และจะเป็นฐาน เป็นตัวกระตุ้นให้ค้นคว้า วิจัย ตอบโจทย์ความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป รวมถึงจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย 

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง จึงได้จัดทำข้อมูลสถาบันวิจัยของจีน โดยแบ่งเป็น สถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยด้านสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยในสังกัดมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานและผู้สนใจได้ทราบและเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทย-จีนต่อไป 

วารสาร “วิทย์ไมตรี ไทย-จีน” ฉบับเดือนเมษายน 2565 จะเป็นฉบับแรกที่นำเสนอชุดข้อมูลสถาบันวิจัยในจีน โดยนำเสนอสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน หรือ Chinese Academy of Sciences (CAS) และข้อมูลของสถาบันวิจัยภายใต้ CAS ที่มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบาย BCG และแนวทางความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ไทย-จีน ที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ฯ ได้เลือกมานำเสนอในฉบับนี้

หากท่านผู้อ่านติดตามข่าวหรือข้อมูลผลงานวิทยาศาสตร์ของจีน น่าจะคุ้นกับชื่อ CAS ซึ่งเป็นหน่วยงานใหญ่ที่มีความสำคัญมากในด้านวิทยาศาสตร์ของจีน ซึ่งนอกจากจะมีสถาบันวิจัยในสังกัดถึง 114 แห่ง มีหน่วยงานในต่างประเทศทั่วโลกจำนวน 9 แห่ง รวมถึงในประเทศไทย และมหาวิทยาลัยในสังกัดจำนวน 2 แห่ง  CAS มีความร่วมมือกับกระทรวง อว. ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น การพัฒนาเครื่องโทคาแมค ด้านนาโนเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ ในเรื่องทุนการศึกษา ระหว่าง University of Chinese Academy of Sciences หรือ UCAS กับ สำนักงาน ก.พ.

ขณะที่ ประเทศไทยกำลังจัดตั้ง “วิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Sciences) หรือ “ธัชวิทย์” เรามารู้จักกับ CAS ในฉบับนี้กันก่อนค่ะ

เนื้อหาประกอบด้วย

  • สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
  • ข้อมูลสถาบันวิจัยภายใต้สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
    • ศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติ (National Space Science Center)
    • สถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง (Institute of High Energy Physics)
    • สถาบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Institute of Computing Technology)
    • สถาบันระบบอัตโนมัติ (Institute of Automation)
    • ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยา (Research Center for Eco-Environmental Sciences)
    • สถาบันพันธุศาสตร์และชีววิทยาพัฒนาการ (Institute of Genetics and Developmental Biology)
    • สถาบันวิจัยนวัตกรรมกระบวนการสีเขียว (Innovation Academy for Green Manufacture)
    • สถาบันที่ปรึกษายุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Institutes of Science and Development)
    • สมาพันธ์องค์การวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (Alliance of International Science Organizations)
    • สถาบันข้อมูลควอนตัมและนวัตกรรมเทคโนโลยีควอนตัม (Cas Center for Excellence in Quantum Information and Quantum Physics)
    • สถาบันวิจัยนวัตกรรมไมโครแซทเทลไลท์ (Innovation Academy for Microsatellites)
    • สถาบันทัศนศาสตร์ กลศาสตร์ขั้นสูง และฟิสิกส์แห่งฉางชุน (Changchun Institute of Optics, Fine Mechanics and Physics)
    • สถาบันวิจัยนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Research)
    • สถาบันวิจัยโภชนาการและสุขภาพเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Institute of Nutrition and Health)
    • สถาบันมาเทอเรีย เมดิกาแห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Institute of Materia Medica)
    • สถาบันนวัตกรรมพลังงานสะอาด (Dalian National Laboratory for Clean Energy)
    • หอดูดาวฉางชุน หอดูดาวดาราศาสตร์แห่งชาติ (Changchun Observatory, National Astronomical Observatories)
  • ความร่วมมือกับมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ข้อมูลทุนการศึกษา

กดเพื่อดาวน์โหลดวารสาร

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]