• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • งานวิจัยออสเตรเลียชี้ ‘โปรตีนนิวริติน’ มีศักยภาพรักษาภูมิแพ้-หอบหืด | XinhuaThai

งานวิจัยออสเตรเลียชี้ ‘โปรตีนนิวริติน’ มีศักยภาพรักษาภูมิแพ้-หอบหืด | XinhuaThai

(แฟ้มภาพซินหัว : ผู้ป่วยชาวอเมริกันที่มีอาการหอบหืดกำเริบ รับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในนครฮาร์บิน เมืองเอกของมณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 5 มี.ค. 2008)

แคนเบอร์รา, 12 มี.ค. (ซินหัว) — งานวิจัยที่เผยแพร่ไม่นานมานี้ระบุว่า คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) ค้นพบโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งอาจเป็น “กุญแจสำคัญ” ในการยับยั้งโรคภูมิแพ้ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง และโรคหอบหืด

โปรตีนชนิดนี้ซึ่งมีชื่อว่า “นิวริติน” (neuritin) จะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์เกิดกระบวนการที่ทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านอาการแพ้ต่างๆ ได้ตามธรรมชาติ

หลังทำการศึกษาระบบภูมิคุ้มกันดังกล่าวมาเป็นเวลา 5 ปี คณะนักวิจัยพบว่านิวริตินป้องกันไม่ให้ร่างกายของมนุษย์ผลิตสารอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ในปริมาณมากเกินไป โดยอิมมูโนโกลบูลินอีที่ว่านี้คือแอนติบอดีที่จะหลั่งสารฮีสทามีนออกมาและก่อให้เกิดอาการแพ้

“เราพบว่านิวริตินป้องกันไม่ให้มีการปล่อยสารอิมมูโนโกลบูลินอีมากเกินไป ซึ่งตามปกติแล้วสารนี้จะเกี่ยวข้องกับอาการแพ้และอาการแพ้อาหารทั่วๆ ไป” คาร์โรลา วีนูเอซา ผู้เขียนหลักของงานวิจัยดังกล่าวแถลงข่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (11 มี.ค.) พร้อมระบุว่าตอนมีหลักฐานแล้วว่านิวริตินเป็นกลไกของหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ในการป้องกันโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองและโรคภูมิแพ้ ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การรักษาได้

คณะนักวิจัยระบุว่าการค้นพบครั้งนี้เป็นเรื่องน่ายินดีเพราะได้วางรากฐานสำหรับวิธีใหม่ๆ ในการรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากแอนติบอดีหรือการถูกกระตุ้นโดยแอนติบอดี

“เรื่องนี้อาจเป็นมากกว่าแค่ยาตัวใหม่ เพราะอาจต่อยอดไปสู่วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองแบบใหม่” วีนูเอซากล่าว

วีนูเอซาทิ้งท้ายว่าหากประสบความสำเร็จ เราอาจไม่จำเป็นต้องลดจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันที่สำคัญลง หรือทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง แต่เราจะใช้แค่โปรตีนตัวนี้ซึ่งมีอยู่ในร่างกายของเราแทน เพื่อรับรองว่ากลไกภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำงานเป็นปกติ เขากล่าวด้วยว่าทั้งโรคภูมิแพ้และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและหวังว่าการค้นพบนี้จะนำมาซึ่งวิธีใหม่ในการแก้ปัญหา

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :

Xinhua

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]