• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ดัชนีการพัฒนากรอบระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ของปี 2565 – ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในจีน (Thailand Business Information Center in China)

ดัชนีการพัฒนากรอบระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ของปี 2565 – ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในจีน (Thailand Business Information Center in China)

ภาพประกอบ: การขนส่งหลายรูปแบบ (ที่มา: เว็บไซต์ 58pic.com (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566) https://qiye.58pic.com/newpic/36965264.html)

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ในพิธีเปิดงาน Western China International Investment and Trade Fair (WCIFIT) ครั้งที่ 5 ได้มีการจัดตั้งเวทีอภิปรายความร่วมมือระหว่างประเทศ New Land-Sea Corridor ประจำปี 2566 โดยได้เปิดเผยดัชนีการพัฒนาระเบียงการค้าระหว่างประเทศทางบกและทางทะเลแห่งใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor (ILSTC)) ของปี 2565 ผลการคำนวณดัชนีการพัฒนา ILSTC ของปี 2565 อยู่ที่ 135.2 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 และ 32.5 เมื่อเทียบกับปี 2564 และ 2563 ตามลำดับ โดยดัชนีความสามารถในการแข่งขันของ ILSTC เติบโตอย่างรวดเร็วถึง 125.6 จุด เพิ่มขึ้น 14.8 จุด เมื่อเทียบกับปี 2564

ที่ผ่านมา เส้นทาง ILSTC ได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง อาทิ ทางรถไฟ ทางหลวง ท่าเรือ ตลอดจนการสร้างแนวทางการจัดการด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการขนส่งระหว่างประเทศแบบผสมระหว่างทะเล+ราง การขนส่งทางถนนข้ามพรมแดน และการขนส่งทางรางร่วมระหว่างประเทศ ทำให้การขนส่งโลจิสติกส์สะดวกและราบรื่น ช่วยให้ภาคตะวันตกของจีนมีบทบาทในตลาดระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้ากับ 10 ประเทศในอาเซียน ซึ่งเป็นตัวช่วยผลักดันการเติบโตของการค้าตลอดเส้นทาง และได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพสูงของภาคตะวันตก

ด้านดัชนีขนาดการค้าต่างประเทศอยู่ที่ 132.7 จุด และดัชนีขนาดอุตสาหกรรมอยู่ที่ 129.1 จุด โดยมีปริมาณการนำเข้าและส่งออกตาม ILSTC ในปี 2565 เส้นทาง ILSTC ที่มีมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งเป็นเส้นทางสนับสนุนหลักได้เปิดเส้นทางใหม่ 78 เส้นทาง ซึ่งมากกว่าปี 2564 ถึง 5 เท่า โดยมีเครือข่ายโลจิสติกส์ครอบคลุมกว่า 18 มณฑล (เขตปกครองตนเอง/เทศบาลนคร) 61 เมือง 120 สถานีในประเทศจีน และครอบคลุมถึง 119 ประเทศ/ภูมิภาค และ 393 ท่าเรือทั่วโลก จากข้อมูลของสำนักงานโลจิสติกส์ท่าเรือของรัฐบาลนครฉงชิ่ง แสดงให้เห็นว่า ในปีนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายนปีนี้ นครฉงชิ่งได้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ด้วยระเบียง ILSTC จำนวนกว่า 51,000 TEU เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบเป็นรายปี มีมูลค่ากว่า 7,884 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24[1]

เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ILSTC เปิดเส้นทางการขนส่งจากนครฉงชิ่งถึงประเทศเมียนมาสายใหม่ รถไฟขบวนนี้บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต จำนวน 32 ตู้ สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตในนครฉงชิ่ง อาทิ ปุ๋ยเคมี อุปกรณ์เสริมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ รวมกว่า 600 ตัน มูลค่าประมาณ 16.34 ล้านหยวน ออกเดินทางจากเขตเจียงจิน นครฉงชิ่ง ผ่านสถานีรถไฟเป่าซานเหนือ มณฑลยูนนาน จากนั้นขนส่งผ่านท่าหว่านติง เมืองรุ่ยลี่ มณฑลยูนนานไปยังประเทศเมียนมาด้วยการขนส่งทางถนน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 วัน เมื่อเทียบกับการขนส่งทางน้ำและทางทะเลแบบดั้งเดิมสามารถประหยัดเวลาได้ประมาณ 20 วัน และช่วยลดต้นทุนได้มาก[2]
โดยในปี 2565 ก็ได้เปิดเส้นทางขนส่งระหว่างจีน-เมียนมา สายนครฉงชิ่ง-เมืองหลินชาง มณฑลยูนนาน-เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ไปแล้ว 1 เส้นทาง ซึ่งใช้เวลาขนส่งประมาณ 15 วัน จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า นครฉงชิ่งมีการพัฒนาเส้นทาง ILSTC โดยเฉพาะการเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งกับกลุ่มประเทศอาเซียนให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง[3]

ภาพประกอบ: ขบวนรถไฟขนส่งสินค้า (ที่มา: เว็บไซต์ 58pic.com (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566) https://qiye.58pic.com/newpic/38900245.html)

นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2566 ด้วยผลจากการประกาศใช้ของ RCEP ทำให้ต้นทุนการค้าภายในภูมิภาคลดลง และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพทางพิธีการศุลกากรที่ดีขึ้น โดยสินค้าเกษตรจากประเทศในอาเซียน และผลิตภัณฑ์ไฮเทคของจีน อาทิ พลังงานใหม่ วัสดุใหม่ ผลิตภัณฑ์เครื่องกลไฟฟ้า ฯลฯ สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศผ่านการเชื่อมต่อการขนส่งทางรถไฟและทางทะเลได้อย่างสะดวก ในปีนี้ มีการนำเข้ามะพร้าวน้ำหอม มังคุด
และเยื่อกระดาษของไทยเข้าจีนผ่านเส้นทาง ILSTC แล้ว[5] นับตั้งแต่รถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการ ได้มีการคิดค้นรูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศแบบ ‘รถไฟจีน-ลาว+รถไฟจีน-ยุโรป’ และ ‘รถไฟจีน-ลาว+รถไฟเส้นทาง ILSTC’ โดยนครฉงชิ่งเป็นผู้นำในการเปิดตัวรถไฟจีน-ลาวบนเส้นทาง ILSTC โดยจะวิ่งเป็นประจำกับรถไฟระหว่างประเทศจีน-ลาว และจีน-เวียดนาม ลดระยะทางและเวลาในการขนส่งกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน และลดต้นทุนโลจิสติกส์การขนส่งข้ามพรมแดน ในปัจจุบัน ‘รถไฟจีน-ลาว+รถไฟเส้นทาง ILSTC’ มีการเปิดรถไฟขนส่งผลไม้แบบตู้เก็บความเย็น และเชื่อมต่อการขนส่งผลไม้จาก ไทย-ลาว-นครฉงชิ่ง แล้ว นับว่าเป็นเส้นทางการขนส่งเส้นทางหนึ่งที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และน่าจับตามองสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าไทยในอนาคต[6]

 

ที่มาข้อมูล

[1] เว็บไซต์ cq.cri.cn (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2566) https://cq.cri.cn/n/20230517/bf1c35a2-a86b-3660-4a2d-41c4c1d9c85b.html

[2] เว็บไซต์ cq.cri.cn (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566) https://cq.cri.cn/n/20230404/841a3eab-a01e-27d9-6f2f-f91f6486231b.html

[3] เว็บไซต์ xinhuanet.com (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566) http://www.xinhuanet.com/politics/2022-05/29/c_1128693508.htm

[4] เว็บไซต์ 58pic.com (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566) https://qiye.58pic.com/newpic/38900245.html

[5] เว็บไซต์ cq.gov.cn (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2566) https://www.cq.gov.cn/ywdt/jrcq/202301/t20230131_11548556.html

[6] เว็บไซต์ thecover.cn (เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566) https://www.thecover.cn/news/7liZ08GlRB2H90qSdq8Jkw==

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]