ถอดรหัสความสำคัญ “การศึกษา และ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)” ในการประชุมสมัชชา ผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่นายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน กล่าวใน การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565 คือ การสร้างความเจริญ ให้กับประเทศด้วย “การศึกษา” “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” และ “ทรัพยากรมนุษย์” เพื่อให้สามารถ สร้างการพึ่งพาตนเองและความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

“การศึกษา” จีนจะพัฒนาการศึกษาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างระบบการศึกษาคุณภาพสูง เร่ง การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ระดับโลก ส่งเสริมความเท่าเทียมทางการศึกษาและการพัฒนาคนอย่างรอบด้าน ทั้ง การศึกษาระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง รวมถีงส่งเสริมการบูรณาการระหว่างอาชีวศึกษา และการศึกษาทั่วไป ระหว่างอุตสาหกรรมและการศึกษา และระหว่างวิทยาศาสตร์และการศึกษา

“วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” จีนจะส่งเสริมการวิจัยขั้นพื้นฐานและขั้นสูง กำหนดบทบาท ของสถาบันวิจัยระดับชาติมหาวิทยาลัยวิจัยระดับสูง และองค์กรชั้นนำที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง จัดตั้งระบบ ห้องปฏิบัติการระดับชาติพัฒนาศูนย์นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค เพื่อสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพระบบนวัตกรรม เพื่อป็นพลังการผลิตหลักในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาและการเติบโตของประเทศ

“ทรัพยากรมนุษย์” จีนจะเร่งพัฒนาและสร้างกองทัพบุคลากรผู้มีความสามารถทุกระดับ และแสวงหา บุคลากรคุณภาพสูงจากทั่วโลก เพื่อเป็นทรัพยากรหลักในการพัฒนาประเทศ และเป็นศูนย์กลางระดับโลกสำหรับ บุคลากรที่มีความสามารถ

ที่ผ่านมาจีนได้สร้างความแข็งแกร่งในการวิจัยขั้นพื้นฐานและนวัตกรรม ทำให้เกิดความก้าวหน้าและ ความสำเร็จในเทคโนโลยีสาขาสำคัญ ๆ เช่น ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม การสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคาร ยานสำรวจใต้ท้องทะเลลึก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ระบบนำทางด้วยดาวเทียม ข้อมูลควอนตัม เทคโนโลยีพลังงาน นิวเคลียร์ เทคโนโลยีพลังงานใหม่การผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่ รวมถึงชีวการแพทย์ และการส่งเสริมอุตสาหกรรม เชิงกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นใหม่

เป็นที่คาดว่า จีนจะลงทุนมหาศาลกับการยกระดับการศึกษา การวิจัยขั้นพื้นฐานและขั้นสูง การบ่มเพาะ บุคลากรด้าน วทน. ทุกระดับ การดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถสูงจากทั่วโลก และโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากร ระดับประเทศ รวมถึงปรับปรุงระบบสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของผู้เชี่ยวชาญเพื่อดึงดูดให้บุคลากรกลุ่มดังกล่าว ทุ่มเทให้กับการพัฒนา วทน. เพื่อขับเคลื่อนจีนให้เป็นประเทศนวัตกรรม ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอีก 5 ปี ข้างหน้า ที่จีนจะประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูง การพึ่งพาตนเองด้าน วทน. และ มีความก้าวหน้าด้านการพัฒนาและการสร้างเศรษฐกิจ ในรูปแบบใหม่และทันสมัย

ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 (2021-2025) ที่ระบุประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังนี้

• เพิ่มงบวิจัยและพัฒนาเป็น 7% ต่อปี

• ให้ความสำคัญของ “การวิจัยพื้นฐาน” (Basic Research) เพื่อยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

• กำหนดยุทธศาสตร์ด้าน วทน. ใน 7 เรื่อง คือ

– AI

– Quantum

– Semiconductor

– Brain Science

– Genomic & Biotechnology

– Clinical Medicine and Health

– Deep Space, Deep Earth, Deep Sea and Polar Research

• การบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรด้าน วทน.

– นโยบายดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทั้งคนจีนและคนต่างชาติให้มาทำงานที่จีน

– สร้างแรงจูงใจให้สร้างงานวิจัยด้วยงบประมาณจำนวนมาก

– สร้างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ – มหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ โครงการเด็กอัจฉริยะ

– สร้างห้องปฏิบัติการระดับชาติ

– ตั้งศูนย์วิจัยในต่างประเทศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการทำวิจัย

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]