ปลูกเพื่อป(ล)อด ล้านต้นลด PM2.5

?“ปลูกเพื่อป(ล)อด ล้านต้น ลด PM2.5”
?ประเทศไทยประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า ๒.๕ ไมครอน (PM2.5) ที่สูงเกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในหลายจังหวัดของพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังคงมีค่าสูงเกินมาตรฐาน ซึ่งอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ในเขตเมืองหลวงที่ต้องเผชิญปัญหานี้ในช่วงต้นปีทุกปี โดยสาเหตุของแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง ที่สำคัญเกิดจากการเผาในที่โล่ง การจราจรขนส่งและอุตสาหกรรม รวมทั้งกิจกรรมที่เกิดจากประชาชน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเขตเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งมีประชากรกว่า 15 ล้านคน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน และเป็นที่ทราบกันดีว่าต้นไม้มีความสามารถในการดักจับฝุ่นละอองได้ดี โดยเฉพาะในพืชที่มีลักษณะการแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบมีความหยาบ เหนียว และมีขน จะมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นสูง
?จากการวิจัยของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พบว่ามีต้นไม้ 6 ชนิด ที่มีประสิทธิภาพสูงในการดักจับฝุ่น โดยยึดเกาะฝุ่นไว้ที่ผิวใบและมีความสามารถในการดูดซับเข้าไปภายในปากใบ ได้แก่ กระดุมทอง ไม้ตระกูลคล้า (คล้านกยูง) ต้นเศรษฐีเรือนใน ไม้ตระกูลเฟิน (เฟินขนนก เฟินเจ้าฟ้า) ไม้เลื้อย (ตีนตุ๊กแก) และต้นสนไซเปรส ดังนั้น การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้ บริเวณในบ้านนอกบ้าน สถานที่ทำงาน ริมถนน และสวนสาธารณะ เพื่อเป็นการลดผลกระทบปัญหาฝุ่นละออง ขนาดเล็กกว่า ๒.๕ ไมครอน (PM2.5) ที่สูงเกินมาตรฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ เสมือนการสร้างภูมิต้านทานในระยะยาว รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชน และเกษตรกร ที่สนใจเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมอีกทางหนึ่งจึงได้จัดทำโครงการ Green City ขึ้น

ที่มา : https://www.green-city.online/

ปลูกเพื่อป(ล)อด ล้านต้นลด PM2.5

ขอบคุณที่มา เพจ วช. 5G

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]